Page 172 - kpi20761
P. 172
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 171
๓.๑ การปรับปรุงสวัสดิการแรงงาน
ข้อเท็จจริงพื้นฐาน เมื่อปรารภถึงบทบัญญัติกฎหมายที่มีเนื้อหา
เกี่ยวกับการแรงงานของไทยที่รองรับหลักการคุ้มครองแรงงานพื้นฐาน
ตามที่ก�าหนดไว้อนุสัญญาแกน ก็คงจะปฏิเสธที่กล่าวถึงพระราชบัญญัติ
๒ ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ และ
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ไปเสียมิได้ อย่างไรก็ตาม
เนื้อหาที่ปรากฏในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ เป็นส่วนที่ว่าด้วย
เสรีภาพในการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรองอันเป็นเนื้อหาของ
อนุสัญญาแกนฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘ ซึ่งประเทศไทยยังไม่ได้
ให้สัตยาบัน ส่วนเนื้อหาของอนุสัญญาแกนที่เหลืออีก ๖ ฉบับ
ได้ปรากฏชัดในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ จนท�าให้เกิด
ความเข้าใจไปว่า หลักการต่างๆ ที่ปรากฏในพระราชบัญญัติฉบับนี้
เป็น “การคุ้มครองพื้นฐาน (Minimum Standard)” ทางการแรงงานไทย
สวัสดิการแรงงานในรูปแบบที่ไม่ใช่เงิน ประเด็นที่น่าสนใจ
ส�าหรับการศึกษาหัวข้อนี้ก็คือ “การสวัสดิการ” ที่แม้จะมิใช่สารัตถะส�าคัญ
ในอนุสัญญาแกนแต่กลับเป็นหัวข้อหนึ่งในพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยก�าหนด
ให้เป็นหน้าที่ของนายจ้างในการจัดสวัสดิการพื้นฐาน อันได้แก่ น�้าดื่ม
สะอาด ห้องสุขา และเครื่องมือ อุปกรณ์ รวมถึงสถานที่เพื่อการปฐมพยาบาล
๒๔๔
พื้นฐาน ให้เหมาะสมกับจ�านวนลูกจ้างในสถานประกอบการ ซึ่งถือว่าเป็น
สวัสดิการภาคบังคับที่อยู่ในรูปของวัตถุสิ่งของหรือการอ�านวยความสะดวก
ในส่วนสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องอ�านวยความสะดวกต่างๆ
๒๔๔ กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๔๘
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 171 13/2/2562 16:37:42