Page 174 - kpi20761
P. 174
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 173
จะตกลงกันในการจัดสวัสดิการลักษณะเช่นนี้ในรูปของ “เงินส�ารองเลี้ยงชีพ”
ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติเฉพาะอีกเฉพาะหนึ่ง อันถือเป็น
๒๔๖
แนวคิดที่กฎหมายแรงงานไทยมุ่งก�าหนดสวัสดิการที่มีการจ่ายหรือจัดให้
ในรูปแบบของเงินตรา แต่ด้วยกระแสกดดันจากตลาดเสรีที่การแข่งขัน
เป็นปัจจัยส�าคัญต่อการพัฒนาประเทศจึงท�าให้รัฐชะลอการบังคับใช้
มาตรการเพื่อจัดสวัสดิการทางการเงินส่วนนี้อย่างเต็มรูปแบบ
กระนั้น แนวคิดที่จัดท�าสวัสดิการที่อยู่ในรูปตัวเงินให้กับ
ผู้ใช้แรงงานยังคงได้รับการศึกษาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บนความมุ่งมั่น
ที่จะให้มีสวัสดิการลักษณะนี้ที่ก่อประโยชน์ในวงกว้างที่สุด กล่าวคือ
สามารถให้ลูกจ้างผู้ใช้แรงงานทุกประเภทหรือเกือบทุกประเภทและ
ทุกหรือเกือบทุกสาขาวิชาชีพสามารถเข้าถึงได้ เพราะหากเป็นกองทุน
ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้วนั่นย่อมหมายความเฉพาะบุคคล
ผู้มีสิทธิตามกฎหมายฉบับนี้เท่านั้น ๒๔๗ ที่พึงจะได้รับสิทธิในการเข้าร่วม
อีกทั้งมาตราการใหม่จะต้องส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม
น้อยที่สุด เพราะจะไม่เสียไปซึ่งบรรยากาศการลงทุน
กองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน : แหล่งเงินทุนภาครัฐเพื่อประโยชน์
ของผู้ใช้แรงงาน นอกจากแนวคิดที่จะให้มีหลักเกณฑ์ในการออมทรัพย์
8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0
%E0%B8%AB%E0%B9%8C%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0
%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87.pdf [๓ มกรคม ๒๕๖๑]
๒๔๖ พระราชบัญญัติกองทุนส�ารองเลี้ยงชีพ พ.ศ. ๒๕๓๐
๒๔๗ โปรดศึกษาค�านิยาม “ลูกจ้าง” ตามความในมาตรา ๕ และ “ลูกจ้างเหมาค่าแรง”
ตามความในมาตรา ๑๑/๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 173 13/2/2562 16:37:42