Page 176 - kpi20761
P. 176
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 175
การจัดตั้งธนาคารแรงงาน : ทางเลือกเพื่อการบริหารจัดการ
เรื่องเงินของผู้ใช้แรงงานโดยผู้ใช้แรงงาน สืบเนื่องจากความต้องการ
ที่จะรักษาสมดุลย์ของตลาดไว้ รัฐบาลจึงยังไม่ประกาศให้มีการจัดเก็บเงิน
สะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มิเช่นนั้นแล้วจะเป็น
การเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อการจ้างแรงงานในประเทศไทยหนึ่งคนโดยเฉลี่ย
ที่ถือเป็นภาระทางด้านต้นทุนของผู้ประกอบกิจการ ในทางตรงกันข้าม
ฝ่ายลูกจ้างผู้ใช้แรงงานเห็นถึงประโยชน์และความส�าคัญในการออมและ
การมีแหล่งเงินที่เพียงพอในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง กอปรกับ
ที่ผ่านมาโครงสร้างการจัดสิทธิประโยชน์ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน
มักจะอยู่ในการควบคุมก�ากับของรัฐทั้งสิ้น ๒๔๙ ดังนี้แล้วตราบใด
ที่การด�าเนินการของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างยังไม่อาจลุล่วงได้เต็มร้อย
โดยเฉพาะส่วนที่ว่าด้วยการเก็บเงินสะสมและเงินสมทบเพื่อรวบรวม
เป็นประโยชน์ของลูกจ้างในอนาคตกาล จึงท�าให้เกิดการเรียกร้องจาก
ฝ่ายลูกจ้างให้มีการจัดตั้งองค์กรหรือสถาบันเพื่อดูแลการเงินของกลุ่ม
ลูกจ้างโดยเฉพาะ ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่น ญี่ปุ่น เองก็มีการใช้
ระบบการบริหารจัดการเงินของผู้ใช้แรงงานในลักษณะดังกล่าวนี้ ซึ่งการตั้ง
หน่วยงานเฉพาะที่อาจมีชื่อเรียกต่างๆ กันนั้นสามารถแสดงสถานะตัวตน
และความชัดเจนของการบริหารจัดการกิจการได้มากกว่าการด�าเนินการ
แบบกองทุน และในท้ายที่สุดความต้องการดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นการเสนอ
ร่างพระราชบัญญัติธนาคารแรงงาน ที่มีวัตถุประสงค์หลัก ๖ ประการ ๒๕๐
คือ
๒๔๙ iLaw, ฟังเสียงปฏิรูป : เสียงจาก “คนงาน” ถึงข้อเสนอ “ธนาคารแรงงาน”
ของ สปช., [ออนไลน์] https://ilaw.or.th/node/3857 [๒๐ มกราคม ๒๕๖๑]
๒๕๐ ร่าง พรบ. ธนาคารแรงงงาน พ.ศ. ... ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมโดย รศ.ดร.ณรงค์
เพ็ชรประเสริฐ
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 175 13/2/2562 16:37:42