Page 190 - kpi20761
P. 190
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 189
มีปัญหาหรือมีไม่เพียงพออย่างไร ซึ่งหากพิจารณาแล้วพบว่า แทบจะไม่มี
บทบัญญัติกฎหมายข้อใดที่ให้สิทธิต่อแรงงานต่างด้าวน้อยกว่าแรงงาน
สัญชาติไทย ที่พบก็มีแต่สิทธิในการรวมกลุ่มในส่วนที่เป็นการจัดตั้ง
สหภาพแรงงานและการบริหารจัดการสหภาพแรงงงานที่ยังคงสงวนไว้
ให้กับแรงงานสัญชาติไทยเท่านั้น ส่วนสิทธิในการเข้าถึงความคุ้มครอง
เรื่องอื่นๆ นั้น กฎหมายไทยไม่ได้ยกเว้นความคุ้มครองที่ก�าหนดไว้ว่าจะ
ไม่ใช้บังคับกับแรงงานต่างด้าวไม่ว่าจะเข้าเมืองโดยถูกหรือผิดกฎหมาย
แต่มักจะปรากฏว่าปัญหาที่ต่างด้าวได้รับการปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมนั้น
เป็นปัญหาข้อเท็จจริงมากกว่า อันเนื่องจากการยอมรับสภาพการท�างาน
ที่ต�่ากว่ากฎหมายก�าหนดของต่างด้าวผู้ใช้แรงงาน และไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใดๆ
ด้วยเกรงว่าการเรียกร้องดังกล่าวจะน�ามาซึ่งผลร้ายในการถูกส่งกลับประเทศ
อันท�าให้ตนและครอบครัวจ�าต้องกลับไปเผชิญกับสภาพแวดล้อมและความ
เป็นอยู่ที่เลวร้ายกว่าในประเทศของตน
ภาพที่ออกสู่สายตาสาธารณะกลับถูกมองว่ารัฐบาลไทยและ
กฎหมายไทยไม่ได้ให้ความคุ้มครองแรงงานต่างด้าวที่เพียงพอ ซึ่งสิ่งที่
ต้องท�าความเข้าใจอันดับแรกก็คือ แรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้เป็นต่างด้าว
ที่เข้าเมืองผิดกฎหมายซึ่งหลายครั้งรัฐบาลก็พยายามใช้วิธีผ่อนผันให้มี
การขึ้นทะเบียนเพื่อให้สามารถระบุสัญชาติและผ่อนผันเวลาให้อยู่และ
ท�างานในราชอาณาจักรไทยต่อไปภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่เคร่งครัด
กระนั้นก็ยังไม่เป็นการเพียงพอที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามอย่างมีนัย
ส�าคัญต่อการแก้ปัญหาการใช้แรงงานต่างด้าวในประเทศไทย จนกระทั่งมี
การประกาศใช้พระราชก�าหนดการบริหารจัดการการท�างานของคนต่างด้าวฯ
ที่มีเนื้อหาบางส่วนที่น่าสนใจและแสดงให้เห็นถึงการเปิดรับของรัฐบาลไทย
ต่อปัญหาข้อนี้อย่างแท้จริง ได้แก่ การยอมให้เกิดกิจการการน�าต่างด้าว
เข้ามาท�างาน และการให้สิทธิกับต่างด้าวที่ได้เข้ามาท�างานแล้วถูกเลิก
inside_ThLabourLaw_c3-5.indd 189 13/2/2562 16:37:43