Page 122 - kpi20761
P. 122
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 121
(ก) อนุสัญญำแกนที่ไทยยังไม่ได้สัตยำบัน
ข้อเท็จจริง : หลักกำรของอนุสัญญำฉบับที่ ๘๗ และฉบับที่ ๙๘
ในบรรดาอนุสัญญาแกนทั้ง ๘ ฉบับ มีเพียง ๒ ฉบับที่ประเทศไทยยังไม่
สามารถให้สัตยาบันได้ แม้จะมีความพยายามในการปรับปรุงแก้ไขกฎ
และข้อบังคับต่างๆ ให้มีความสอดคล้องกับเนื้อหาในอนุสัญญามาเป็น
ระยะเวลานานแล้วก็ตาม อนุสัญญาที่ว่านี้ คือ อนุสัญญาฉบับที่ ๘๗
ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัวกัน
และอนุสัญญาฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยว่าด้วยสิทธิในการรวมกลุ่ม และ
การร่วมเจรจาต่อรอง ส�าหรับอนุสัญญาฉบับแรก (ฉบับที่ ๘๗) นั้น ได้เน้นถึง
ความส�าคัญในการที่รัฐภาคีต้องรับรองสิทธิในการรวมตัวกันโดยไม่มี
การเลือกปฏิบัติ และสิทธิในการจัดตั้งและเข้าร่วมองค์การของตนเอง
อย่างอิสระโดยปราศจากการอนุมัติจากรัฐ ซึ่งสิทธิทั้งสองประการดังกล่าวนี้
จะต้องให้การรับรองทั้งกับทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง และมีอิสระจาก
ฝ่ายการเมือง อย่างไรก็ตามรัฐภาคีอาจยกเว้นการรับรองสิทธิในส่วนนี้
ให้กับบุคคลากรที่เป็นทหารและต�ารวจได้เนื่องจากงานในสองอาชีพนี้
เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและความมั่นคงของรัฐ ส่วนอนุสัญญาฉบับที่
สอง (ฉบับที่ ๙๘) ได้เน้นถึงความเป็นอิสระของสหภาพแรงงาน ที่รัฐภาคี
ต้องให้ความคุ้มครองแก่สมาชิกของสหภาพแรงงานไม่ให้ถูกแทรกแซง หรือ
เลือกปฏิบัติใดๆ อันท�าให้เขาไม่สามารถใช้สิทธิในการวมกลุ่มได้อย่างเต็มที่
ซึ่งอนุสัญญานี้ได้สงวนการบังคับใช้ไว้กับเจ้าหน้าที่รัฐที่มีความรับผิดชอบ
ในการบริหารงานของรัฐ
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 121 13/2/2562 16:24:13