Page 125 - kpi20761
P. 125
124
การให้ความคุ้มครองกับบุคคลากรในรัฐวิสาหกิจออกจากภาคเอกชน
โดยบัญญัติกฎหมายเฉพาะขึ้นในชื่อว่าพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจ
สัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งรับรองสิทธิในการแรงงานสัมพันธ์ไว้แคบกว่า
๑๖๓
ของภาคเอกชน ในส่วนของการแรงงานแขนงอาชีพอื่น โดยเฉพาะภาครัฐ
ก็ยังคงไม่ได้รับสิทธิในการเรียกร้องเพื่อการเจรจาต่อรองนี้เรื่อยมาจนกระทั่ง
มีแนวคิดในการร่างกฎหมายเกี่ยวกับการรวมกลุ่มภาครัฐช่วง พ.ศ. ๒๕๕๒
จนกระทั่งปัจจุบันที่กฎหมายนี้ก็ยังไม่ได้มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
๑๖๔
อีกทั้งปรากฏข้อวิจารณ์จากภาคส่วนต่างๆ ถึงความสมบูรณ์ในการ
ให้สิทธิเพื่อการรวมกลุ่มเพื่อการเจรจาต่อรองของข้าราชการที่ยังคงถูก
สงวนสิทธิบางประการไว้
บริบททำงเศรษฐกิจกับกำรแยกคุ้มครองแรงงำนเอกชน
และแรงงำนรัฐวิสำหกิจ ตามที่ได้เท้าความถึงปัญหาความไม่สอดคล้อง
ของกฎหมายเกี่ยวกับการแรงงานสัมพันธ์ไทยกับหลักการในอนุสัญญาของ
ILO ข้อหนึ่งว่าด้วยสิทธิที่ด้อยกว่าของแรงงานต่างด้าวในการแรงงานสัมพันธ์
อันสืบเนื่องมาจากสถานะความต้องการแรงงานต่างด้าวของประเทศไทย
ที่มีความพิเศษเฉพาะ กล่าวคือ แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือเป็นที่ต้องการของ
ผู้ประกอบการในประเทศไทยด้วยเหตุที่เป็นแรงงานราคาถูก ไม่เลือกงาน
ที่ท�า ตลอดจนไม่ต่อรองและมักยอมตามนายจ้าง ด้วยเหตุที่แรงงานกลุ่มนี้
มักจะเดินทางมาจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีปัญหาภายในและมีสภาพ
๑๖๓ ต่อมาพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้รับการพัฒนาปรับปรุงและประกาศใช้เป็นพระราช
บัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ และใช้บังคับจนกระทั่งปัจจุบัน (คณะผู้วิจัย)
๑๖๔ โพสต์ทูเดย์, สหภำพ ขรก. กฎหมำยปลดแอกกำรเมือง, [ออนไลน์] https://www.
posttoday.com/politic/report/38599 [๑๒ มกราคม ๒๕๖๑]
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 124 13/2/2562 16:24:13