Page 121 - kpi20761
P. 121

120

                         ๑.๒.๒.๒  กฎหมายแรงงานไทยกับอนุสัญญาที่ยังไม่ได้

                 ให้สัตยาบัน

                         หากพิจารณาจากจ�านวนของอนุสัญญาทั้งหมดที่ ILO ได้บัญญัติขึ้น

                 ก็อาจเห็นได้ว่ายังมีอนุสัญญาอีกหลายฉบับที่ประเทศไทยยังสงวนท่าที
                 ในการให้สัตยาบัน ซึ่งอาจมาจากข้อจ�ากัดบางประการที่เป็นเรื่องภายใน

                 ประเทศ (ข) หรืออาจเป็นอนุสัญญาเชิงเทคนิคที่การให้สัตยาบันย่อมน�ามา
                 ซึ่งพันธะในการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติและแนวปฏิบัติภายในที่ไม่ก่อให้
                 เกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการแรงงานของประเทศไทยในภาพรวม

                 เท่าใดนัก ในทางกลับกันอาจท�าให้เกิดการสิ้นเปลืองการใช้ทรัพยากร เพราะ
                 เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับแรงงานส่วนน้อยหรืออาจแทบจะไม่เกี่ยวข้องเลย

                 ดังนั้น การพิจารณาความสอดคล้องของบทกฎหมายแรงงานไทยกับ
                 อนุสัญญาที่ประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบัน จะเน้นเฉพาะอนุสัญญา
                 ในกลุ่มอนุสัญญาแกนเท่านั้น เพราะเป็นอนุสัญญาที่โดยเนื้อหาเกี่ยวข้อง

                 สัมพันธ์กับสิทธิแรงงานพื้นฐานอันเป็นแก่นส�าคัญของการใช้แรงงานอย่าง
                 เป็นธรรม ซึ่งในเชิงรูปแบบ ILO ได้ให้ความส�าคัญเป็นพิเศษดังจะเห็นได้

                                              ๑๕๒
                 จากการประกาศจัดกลุ่มอนุสัญญา  และในทางปฏิบัติที่มีการก�าหนด
                 กระบวนการพิเศษไว้เพื่อก�ากับดูแลการปฏิบัติหลักการในอนุสัญญาแกน
                         ๑๕๓
                 บางฉบับ  ดังนี้ คณะผู้วิจัยเห็นว่าการพิจารณาความไม่สอดคล้อง
                 ของกฎหมายไทยกับอนุสัญญาของ ILO จึงควรจ�ากัดกรอบการพิจารณา
                 ไว้แต่เพียงอนุสัญญาในกลุ่มอนุสัญญาแกนนั่นเอง (ก)









                 ๑๕๒  โปรดศึกษาย่อหน้าที่ ๗๓
                 ๑๕๓  โปรดศึกษาย่อหน้าที่ ๗๖







         inside_ThLabourLaw_c1-2.indd   120                                    13/2/2562   16:24:13
   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126