Page 118 - kpi20761
P. 118
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 117
ซึ่งประเทศไทยเองในฐานะที่เป็นรัฐสมาชิกของ ILO และ
เป็นประเทศที่มีการประกอบธุรกิจการเดินเรือพาณิชย์
และเรือเดินทะเลเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย จึงได้ให้
ความส�าคัญกับเกณฑ์การใช้แรงงานในธุรกิจประเภทนี้
มาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๑ แต่กฎหมายและกฎเกณฑ์
ต่างๆ ก็มีความกระจัดกระจายไม่มีรวบรวมเป็นหมวดหมู่
จนกระทั่งใน พ.ศ. ๒๕๕๕ ประเทศไทยได้ให้สัตยาบัน
ในอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานในเรือเดินทะเลฯ
๑๔๗
ท�าให้กลายเป็นหน้าที่ที่รัฐต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
และแนวปฏิบัติภายในให้สอดคล้องกับหลักการ
ในอนุสัญญาฉบับดังกล่าว และกลายเป็นที่มาของการ
ประกาศใช้พระราชบัญญัติแรงงานทางทะเล พ.ศ. ๒๕๕๘
ที่มีการจัดท�าร่างและปรับปรุงเนื้อหาโดยกระทรวงแรงงาน
กว่า ๓ ปี จนกระทั่งได้ร่างพระราชบัญญัติที่มีความ
สอดคล้องกับหลักการในอนุสัญญา MLC ได้ครบ
ทุกประการ กระนั้นหลังจากการประกาศใช้กฎหมาย
๑๔๘
มาระยะหนึ่งพบว่าแม้เนื้อหาในพระราชบัญญัติจะมี
ความสอดคล้องกับแนวทางของ ILO อย่างครบถ้วน
แต่กลับพบปัญหาในทางปฏิบัติที่ยังขาดความชัดเจน
ในวิธีการตลอดจนมาตรการในการน�าหลักการต่างๆ ไปใช้
๑๔๗
พิไลพร เตือนวีระเดช, กฎหมำยแรงงำนทำงทะเล: อีกก้ำวของกฎหมำยพำณิชย
นำวีไทย, [ออนไลน์] http://www.law.tu.ac.th/wp-content/uploads/2015/01/5.กฎหมาย
แรงงานทางทะเล-อีกก้าวของกฎหมายพาณิชยนาวีไทย-พิไลพร-เตือนวีระเดช.pdf,
[๙ มกราคม ๒๕๖๑]
๑๔๘ โปรดศึกษาหัวข้อ ที่ (๒.๒) พระราชบัญญัติเฉพาะ : กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานทาง
ทะเล ในย่อหน้าที่ ๖๒
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 117 13/2/2562 16:24:13