Page 127 - kpi20761
P. 127
126
ILO ในฐานะองค์กรผู้รับผิดชอบโดยตรงกับการให้สัตยาบันในอนุสัญญาแกน
โดยเฉพาะอนุสัญญาทั้งสองฉบับนี้ของรัฐสมาชิก ก็ยังคงด�าเนินบทบาทตน
โดยการให้ประเทศไทยชี้แจงถึงอุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นอันท�าให้กลายเป็น
ข้อยุ่งยากในการให้สัตยาบันกับอนุสัญญาทั้งสองฉบับ อย่างไรก็ตาม
๑๖๖
อาจตั้งเป็นข้อสังเกตว่า การที่ประเทศไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันกับอนุสัญญา
ทั้งสองฉบับนี้ กลับไม่ท�าให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบทางการค้า
การลงทุนจากต่างประเทศมากเท่าใดนักหากเทียบกับเรื่องการใช้แรงงาน
ประมงทะเลและการใช้แรงงานต่างด้าว ที่ประเทศไทยถูกมองว่ามีการค้ามนุษย์
และการใช้แรงงานเยี่ยงทาสจากประเทศตะวันตกอันน�ามาซึ่งการลด
และห้ามการน�าเข้าสินค้าจากประเทศไทย ซึ่งหากจะมีการดึงประเด็นเรื่อง
การแรงงานสัมพันธ์มาใช้เป็นข้อต่อรองในลักษณะเช่นว่านี้ ก็มักจะเป็นไป
ในรูปแบบองค์ประกอบหรือบริบทรองที่ไม่ได้มาจากสาเหตุการไม่ลงนาม
ให้สัตยาบันว่าด้วยการรวมกลุ่มเพื่อการเจรจาต่อรองเท่าใดนัก กระนั้น
ก็ใช่ว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้จะเป็นข้อต่อสู้ที่ประเทศไทยจะใช้อ้าง
เพื่อสงวนท่าทีนี้ต่อไป
๑๖๖
โปรดศึกษา ILO, Case 202 Thailand International of Free Trade Union 1959,
[online] http://ilo.org/dyn/normlex/en/f?p=1000:50001:::NO::: [9 jan 2018]
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 126 13/2/2562 16:24:14