Page 131 - kpi20761
P. 131
130
ปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน และปัญหาเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่
ที่ดีและสภาพคล่องทางการเงินของผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น รัฐบาลเล็งเห็น
ความส�าคัญของแรงงานและมีความกังวลต่อปัญหาเกี่ยวกับการแรงงาน
จึงได้ก�าหนดการปฏิรูปการแรงงานไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติฉบับที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ (๒.๑.๑) ซึ่งเปรียบเป็นกรอบ
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในภาพรวม แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมเห่งชาติฉบับนี้เป็นแผนที่ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาที่ยั่งยืน และยังให้ความส�าคัญกับการพัฒนาคนโดยให้คนเป็น
ศูนย์กลาง เพื่อขจัดความเหลื่อมล�้าในสังคม เมื่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติฉบับนี้ให้ความส�าคัญกับการพัฒนาคน แรงงานซึ่งเป็น
กลุ่มคนกลุ่มใหญ่ในสังคมและเปรียบเสมือนเป็นกลไกส�าคัญในการด�าเนินการ
ต่างๆ ทางเศรษฐกิจย่อมต้องได้การพัฒนาฝีมือให้มีความสามารถมากยิ่งขึ้น
และพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานซึ่งจะสามารถช่วยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
สามารถแข่งกันกับแรงงานต่างประเทศได้และสามารถลดความเหลื่อมล�้า
ในสังคมได้ในที่สุด
นอกจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับดังกล่าวแล้ว
สภาปฏิรูปแห่งชาติซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อก�าหนดกรอบการปฏิรูป
ในประเด็นปัญหาส�าคัญของประเทศได้มีการก�าหนดการปฏิรูปการแรงงาน
ไว้ในวาระปฏิรูป (๒.๑.๒) เนื่องจากการแก้ไขปฏิรูปกฎหมายแรงงาน
แต่เพียงอย่างเดียวไม่อาจท�าให้การแรงงานพัฒนาได้อย่างเป็นรูปธรรม
แต่การปฏิรูปการแรงงานมีความจ�าเป็นต้องค�านึงถึงบริบทและสภาพแวดล้อม
ทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นประกอบด้วย อาทิ ประเด็นเกี่ยวกับการสวัสดิการ
สังคมซึ่งจะเป็นมาตรการเสริมให้การก�าหนดทิศทางการปฏิรูปการแรงงาน
มีทิศทางที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้นและยังสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงาน
ได้อีกด้วย นอกจากประเด็นเกี่ยวกับการสวัสดิการสังคมแล้ว การปฏิรูป
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 130 13/2/2562 16:24:14