Page 110 - kpi20761
P. 110
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 109
อย่างไรก็ดี อาจตั้งเป็นข้อสังเกตว่า อนุสัญญาฉบับที่ ๑๑๑
ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในการจ้างงานและอาชีพนั้น แม้ประเทศไทยจะได้
ลงนามให้สัตยาบันแล้วก็ตาม แต่ ณ ขณะเวลาปัจจุบัน (มกราคม ๒๕๖๑)
ก็ถือว่ายังอยู่ในช่วงที่ระยะเวลา ๑ ปีนับแต่ให้สัตยาบัน ที่ประเทศไทย
สามารถปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและบทบัญญัติภายในให้มีเนื้อหาสอดคล้อง
กับหลักการในอนุสัญญาฉบับดังกล่าวได้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นประเด็น
๑๔๐
ที่น่าติดตามว่าบทบัญญัติมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
ซึ่งกล่าวถึง หลักการที่นายจ้างต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างชายและหญิงที่มีสภาพ
ของงานในลักษณะเดียวกันอย่างเท่าเทียม ต้องได้รับการปรับปรุงให้มี
ความสอดคล้องกับเนื้อหาในอนุสัญญาฉบับที่ ๑๑๑ นี้มากขึ้นโดยให้
ความส�าคัญกับการปฏิบัติที่เท่าเทียมและต้องไม่มีการเลือกปฏิบัติกับ
ลูกจ้าง ด้วยเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องต่างๆ เป็นพื้นฐาน
กฎหมำยแรงงำนไทยกับอนุสัญญำกลุ่มกำรบริหำรจัดกำร
แรงงำน แม้จะปรากฏอนุสัญญาเพียงฉบับเดียวในอนุสัญญากลุ่มนี้
ที่ประเทศไทยได้ลงนามให้สัตยาบัน กล่าวคือ อนุสัญญาฉบับที่ ๑๒๒
ว่าด้วยนโยบายการจ้างงาน ในภาพรวมถือได้ว่าประเทศไทยเองก็ได้น�า
หลักการต่างๆ ที่เป็นสาระส�าคัญในอนุสัญญาฉบับนี้มาใช้ปฏิบัติในลักษณะ
ที่ก่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยอาจแยกพิจารณาเป็นการน�ามาปรับใช้
โดยก�าหนดเป็นข้อกฎหมายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับการแรงงาน และ
การน�ามาปรับใช้โดยก�าหนดเป็นแผนนโยบาย
๑๔๐
ILO Constitution article 19
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 109 13/2/2562 16:24:13