Page 106 - kpi20761
P. 106
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 105
(๑) อนุสัญญาฉบับที่ ๒๙ ว่าด้วยแรงงานบังคับ และ
อนุสัญญาฉบับที่ ๑๐๕ การยกเลิกแรงงานบังคับ ได้น�ามา
เป็นฐานความคิดในการก�าหนดเงื่อนไขพื้นฐานในการ
คุ้มครองแรงงาน (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ. ๒๕๔๑) ที่จะต้องมีก�าหนดเวลาขั้นสูงสุดในการ
ท�างานของแต่ละวัน มีวันหยุดอย่างเหมาะสม มีสวัสดิการ
และค่าตอบแทนที่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม การเกณฑ์
แรงงานที่อาจท�าได้ในประเทศไทยภายใต้กฎหมาย
จะมีก็แต่เพียงการเรียกพลส�ารอง การเรียกระดมพล
การเรียกเพื่อฝึกซ้อมความพรั่งพร้อม ของประชากรชาย
ที่มีอายุระหว่าง ๑๘ - ๔๕ ปี ซึ่งเป็นทหารกองหนุน และ
ทหารกองเกิน ตามความในพระราชบัญญัติก�าลังพล
ส�ารอง พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยกฎหมายฉบับนี้ได้ให้อ�านาจ
ในการออกกฎหมายล�าดับรองเพื่อก�าหนดเงื่อนไข
ในการเรียกพลทั้งเรื่องระยะเวลาโดยรวมสูงสุด
การจัดเวลาฝึกซ้อมที่ต้องมีก�าหนดเวลาและเวลาพัก
การจัดสวัสดิการ การจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสม
๑๒๙
ซึ่งล้วนแล้วแต่สอดคล้องกับแนวทางของอนุสัญญา
ทั้ง ๒ ฉบับดังกล่าวข้างต้นนี้ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะ
มีข้อท้วงติงได้ว่า การที่ประเทศไทยยังมีการเกณฑ์ชาย
ที่มีอายุระหว่าง ๒๐ - ๒๙ ปีเพื่อเข้ารับราชการทหาร
ตามความในพระราชบัญญัติก�าหนดรับราชการทหาร
พ.ศ. ๒๔๙๗ นั้นเป็นการฝ่าฝืนหลักการยกเลิกแรงงาน
บังคับในทางแรงงานหรือไม่ เพราะผู้ที่ถูกเกณฑ์ทหาร
๑๒๙
ระเบียบกระทรวงกลาโหมว่าด้วยสิทธิประโยชน์ของก�าลังพลส�ารอง พ.ศ. ๒๕๕๙
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 105 13/2/2562 16:24:12