Page 111 - kpi20761
P. 111
110
ในส่วนของการน�าเนื้อหาอนุสัญญามาใช้เป็นแนวทางบัญญัติ
กฎหมายและแนวปฏิบัติ จะเห็นได้จากการที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา ๔๐ วรรค ๑ ได้บัญญัติรับรองเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
ของปัจเจกบุคคลทุกคน อีกทั้งการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดหางาน
และคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. ๒๕๒๘ ที่ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติที่ผ่าน
การเจียรไนเนื้อหามาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๗๔ ก็เป็นอีกข้อพิสูจน์หนึ่งที่แสดง
๑๔๑
ให้เห็นมีมาตรการอย่างเพียงพอที่จะท�าให้เกิดการจ้างงาน ให้ประชากร
วัยท�างานมีงานท�า ด้วยการจัดบริการจัดหางานอันก่อให้เกิดอาชีพและ
รายได้เลี้ยงตนเอง
ส�าหรับแผนนโยบายภาครัฐที่สอดคล้องกับหลักการของ
อนุสัญญาฉบับที่ ๑๒๒ ก็คือ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่แม้
ปัจจุบันจะล่วงพ้นเวลาเข้ามาอยู่ในช่วงของการใช้บังคับแผนฯ ฉบับที่ ๑๒
๑๔๒
(พ.ศ. ๒๕๖๐ – พ.ศ. ๒๕๖๔) แล้วก็ตาม แต่ก็ปรากฏเสมอมาว่า
ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๔ –
พ.ศ. ๒๕๐๙) รัฐบาลก็ได้มุ่งเน้นถึงการยกระดับมาตรฐานการครองชีพ
การสร้างงาน และการก่อให้เกิดรายได้เพื่อให้ประชาชนสามารถด�ารงชีพ
อยู่ได้อย่างผาสุข อันท�าให้แผนพัฒนาฉบับต่อๆ มาจนกระทั่งฉบับปัจจุบัน
ถือเป็นหลักการด้านสังคมร่วมกับเศรษฐกิจที่จะขาดมิได้ในการที่รัฐต้อง
สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการจ้างงาน และการส่งเสริมและพัฒนาทักษะ
ฝีมือแรงงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามความต้องการของตลาด
แรงงาน ซึ่งจะกลายเป็นพลังส�าคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
๑๔๑
โปรดศึกษารายละเอียดในย่อหน้า ๒๓
๑๔๒ โปรดศึกษารายละเอียดในย่อหน้า ๙๙ เป็นต้นไป หัวข้อ ๒.๑.๑ การปฏิรูปการแรงงาน
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 110 13/2/2562 16:24:13