Page 112 - kpi20761
P. 112
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 111
ดังนี้แล้ว เห็นได้ว่าแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายการจ้างงานได้
ถูกรองรับและน�ามาใช้ปฏิบัติอย่างแท้จริง ทั้งในรูปของรัฐธรรมนูญ
บทบัญญัติกฎหมายที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการแรงงาน ตลอดจนในรูปของ
นโยบายระดับชาติที่ถือได้ว่าเป็นกรอบการด�าเนินงานของรัฐบาล
ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
กฎหมำยแรงงำนไทยกับอนุสัญญำกลุ่มที่เป็นเรื่องแรงงำน
ทำงเทคนิค หากน�าสัดส่วนเชิงปริมาณของจ�านวนอนุสัญญาทั้งหมด
ในกลุ่มนี้มาเทียบเคียงกับจ�านวนอนุสัญญาที่มีการให้สัตยาบันโดยรัฐบาลไทย
เพื่อใช้ชี้วัดถึงความเป็นสากลของกฎหมายแรงงานไทยแล้ว อาจท�า
ให้กฎหมายแรงงานไทยถูกมองว่าเป็นกฎหมายที่เพิ่งได้รับการพัฒนา
ปรับปรุงและมีความห่างไกลจากสากลอยู่มาก ซึ่งในหลักความเป็นจริงแล้ว
การศึกษาคุณค่าความเป็นสากลของอนุสัญญากลุ่มนี้ต้องท�าความเข้าใจ
ให้ลึกซึ้งก่อนว่า แม้แต่ ILO ที่มีหน้าที่ผลักดันให้รัฐสมาชิกร่วมลงนาม
ให้สัตยาบันในอนุสัญญาฉบับต่างๆ เพื่อน�าหลักการการใช้แรงงานที่มี
อยู่ด้วยกันหลากหลายเรื่องและมีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่าง ตามแต่
เนื้อหาของอนุสัญญาแต่ละฉบับ ไปใช้ปฏิบัติเพื่อให้การใช้แรงงานในโลก
เป็นไปในลักษณะเดียวกันให้มากที่สุดนั้น ก็ยอมรับว่าในบรรดาจ�านวน
อนุสัญญาทั้งหมดที่ที่ประชุมใหญ่ให้การรับรอง มีอนุสัญญา ๘ ฉบับที่เป็น
หลักการส�าคัญ และอีก ๔ ฉบับเป็นหลักการในทางปฏิบัติที่มีความส�าคัญ
ในล�าดับรองลงมา ส่วนอนุสัญญาที่เหลือแม้จะมีความส�าคัญต่อการพัฒนา
การแรงงานร่วมกันให้มีความเป็นสากลไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าฉบับอื่นๆ
ที่กล่าวมา แต่กระนั้น ด้วยบริบทแวดล้อมการใช้แรงงานของแต่ละประเทศ
สมาชิกที่มีความแตกต่างกัน ก็ย่อมถือได้ว่าเป็นเหตุผลที่ท�ารัฐสมาชิก
มีความชอบธรรมในการเลือกที่จะน�าหลักการของอนุสัญญาบางฉบับ
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 111 13/2/2562 16:24:13