Page 109 - kpi20761
P. 109
108
ที่กฎหมายแรงงานไทยมีไว้เพื่อใช้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อน
ให้การจ้างแรงงานเด็กเป็นไปในรูปแบบที่ชอบธรรม
อีกทั้ง กฎหมายคุ้มครองแรงงานยังได้ก�าหนดมาตรการ
ในการคุ้มครองการเงินของลูกจ้างเด็กโดยห้ามการเรียก
รับประกันการท�างาน และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้กับ
ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กโดยตรง ไม่สามารถจ่ายผ่านบุคคลอื่น
ซึ่งรวมตลอดถึงพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กนั้นได้มิฉะนั้นแล้ว
ต้องถือว่าการจ่ายค่าจ้างให้กับลูกเด็กมิได้เกิดขึ้นนั่นเอง ๑๓๗
อีกทั้งกฎหมายยังยอมรับให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กสามารถลา
เพื่อเพิ่มพูนความรู้ได้โดยนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย
ค่าจ้างให้ตลอดระยะเวลาที่ลามีก�าหนดปีหนึ่งไม่เกิน
๓๐ วัน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว พระราชบัญญัติ
๑๓๘
คุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งแม้การประกาศใช้จะมิได้
เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแรงงานโดยตรง แต่หมวด ๔ ของ
กฎหมายฉบับนี้ว่าด้วย “การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก”
ได้ก�าหนดกลไกบางประการ เช่น การให้ผู้พบเห็น
พฤติกรรมที่น่าเชื่อว่ามีกระท�าทารุณเด็กสามารถแจ้ง
ให้พนักงานฝ่ายปกครองเพื่อด�าเนินการ ฯลฯ ย่อม
๑๓๙
เปรียบได้กับกลไกเสริมที่ช่วยขับเคลื่อนให้แนวคิดเรื่อง
การใช้แรงงานเด็กที่ต้องไม่เป็นไปในรูปแบบที่เลวร้าย
สามารถบรรลุเป้าประสงค์ได้อย่างแท้จริงอีกทางหนึ่งด้วย
๑๓๗ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕๑
๑๓๘ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๕๒
๑๓๙
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๑
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 108 13/2/2562 16:24:13