Page 104 - kpi20761
P. 104
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 103
บริบทแวดล้อม โดยใช้ปัญหาข้อเท็จจริงในทางแรงงานที่เกิดขึ้นและ
ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมไทยเป็นพื้นฐานของการศึกษา
ท�าให้ประเทศไทยให้สัตยาบันอนุสัญญาในกลุ่มอนุสัญญาที่เป็นเรื่องทาง
เทคนิคเพิ่มขึ้นอีก ๑๐ ฉบับ ได้แก่ อนุสัญญาฉบับที่ ๑๔ ว่าด้วยวันหยุด
พักผ่อนประจ�าสัปดาห์ (กิจการอุตสาหกรรม) อนุสัญญาฉบับที่ ๑๙ ว่าด้วย
ความเท่าเทียมกันในการปฏิบัติ (เงินทดแทน) อนุสัญญาฉบับที่ ๘๘ ว่าด้วย
การจัดหางาน อนุสัญญาฉบับที่ ๑๐๔ ว่าด้วยการยกเลิกการลงโทษ
ทางอาญา (แรงงานชนพื้นเมือง) อนุสัญญาฉบับที่ ๑๑๖ ว่าด้วยข้อบท
สุดท้ายในการแก้ไขอนุสัญญา อนุสัญญาฉบับที่ ๑๒๓ ว่าด้วยอายุขั้นต�่า
ในการท�างาน (งานใต้ดิน) อนุสัญญาฉบับที่ ๑๒๗ ว่าด้วยน�้าหนักมากที่สุด
อนุสัญญาฉบับที่ ๑๕๙ ว่าด้วยการกลับเข้าสู่ต�าแหน่งและการจ้างงาน
ในต�าแหน่งงานที่ว่าง (ผู้ทุพพลภาพ) อนุสัญญาว่าด้วย แรงงานในเรือเดินทะเล
ค.ศ. ๒๐๐๖ และ อนุสัญญาฉบับที่ ๑๘๗ ว่าด้วยการส่งเสริม
กรอบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการท�างาน
ผลที่อาจคาดหมายได้จากการที่ประเทศไทยให้สัตยาบัน
ในอนุสัญญาของ ILO ๑๘ ฉบับ คือความสอดคล้องของบทกฎหมายและ
แนวปฏิบัติทางด้านแรงงานไทยกับเนื้อหาในอนุสัญญาดังกล่าวอย่างครบถ้วน
เว้นเสียแต่อนุสัญญาฉบับที่ ๑๑๑ ซึ่งประเทศไทยเพิ่งให้สัตยาบันไป
เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ท�าให้ประเทศไทยยังพอมีเวลาในการปรับปรุง
แก้ไขบทบัญญัติกฎหมายและทางปฏิบัติในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมกัน
และการไม่เลือกปฏิบัติทางแรงงานจนกระทั่งถึงประมาณกลางเดือน
มิถุนายน ๒๕๖๑ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ปรากฏตามหน้าสื่อต่างๆ ได้น�าเสนอ
ภาพลักษณ์เชิงลบของประเทศไทยว่ามีการใช้แรงงานเยี่ยงทาส ใช้แรงงาน
อย่างไม่เคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชนอันเป็นการฝ่าฝืนสิทธิแรงงานพื้นฐาน
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 103 13/2/2562 16:24:12