Page 102 - kpi20761
P. 102
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 101
บางประเภทได้ แต่ต้องมีมาตรการที่ให้ความคุ้มครอง
อย่างเต็มที่ และอนุสัญญาฉบับที่ ๑๘๒ ว่าด้วยรูปแบบ
ที่เลวร้ายที่สุดของการใช้แรงงานเด็ก โดยก�าหนด
รูปแบบที่ถือว่าเป็นสภาพการณ์ที่เลวร้ายไม่ควรให้เกิด
การจ้างแรงงานเด็กได้ ตัวอย่างเช่น แรงงานขัดหนี้
แรงงานทาสติดดิน การบังคับเด็กให้สู้รบ การใช้การจัดหา
หรือการเสนอเด็กเพื่อการค้าประเวณี เพื่อการผลิตหรือ
แสดงสื่อลามกอนาจาร การใช้ การจัดหา หรือเสนอเด็ก
เพื่อกิจกรรมที่ผิดกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิต
และการค้าขายสิ่งเสพติด เป็นต้น ซึ่งรัฐสมาชิก
จะต้องมีมาตรการทั้งป้องกัน ควบคุม และลงโทษ
เพื่อไม่ให้เกิดการใช้แรงงานเด็กในลักษณะดังกล่าวขึ้น
ซึ่งประเทศไทยก็ได้ให้สัตยาบันกับอนุสัญญาทั้งสอง
ฉบับนี้ครบถ้วนแล้วเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๐๔
และวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๒๐๐๑ ตามล�าดับ ซึ่งถือเป็น
อนุสัญญาในกลุ่มอนุสัญญาแกนประเด็นสุดท้าย
ที่รัฐบาลไทยให้สัตยาบัน
(๔) อนุสัญญาแกนที่ยังไม่ให้สัตยาบัน : อนุสัญญาเกี่ยวกับ
เสรีภาพในการรวมกลุ่มเพื่อการเจรจาต่อรอง หลังจาก
ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาฉบับที่ ๑๑๑
เมื่อปีที่ผ่านมา อนุสัญญาในกลุ่มนี้จึงกลายเป็นอนุสัญญา
แกนเพียง ๒ ฉบับเท่านั้นที่ประเทศไทยยังสงวนท่าที
ในการลงนามาสัตยาบัน อันได้แก่ อนุสัญญาฉบับที่ ๘๗
ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคม และการคุ้มครองสิทธิ
ในการรวมตัวกัน ฉบับหนึ่ง และอนุสัญญาฉบับที่ ๙๘
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 101 13/2/2562 16:24:11