Page 98 - kpi20761
P. 98
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 97
ปัญหาการใช้แรงงานในเรื่องต่างๆ ร่วมกันและควรน�าแนวทางที่ก�าหนด
ไว้ในอนุสัญญาแต่ละฉบับไปใช้ให้เกิดผลอันจะท�าให้การใช้แรงงาน
ในแต่ละประเทศเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกันอย่างเป็นสากล
อนุสัญญำแกน ๖ ฉบับ ดังได้กล่าวมาแล้วว่าอนุสัญญา
ในกลุ่มอนุสัญญาแกนทั้ง ๘ ฉบับเป็นตราสารที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับ
หลักการแรงงานสากล ๔ ข้อที่ปรากฏในประกาศฟิลาเดลเฟีย ดังนี้แล้ว
การพิจารณาในประเด็นอนุสัญญา ILO ที่ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันแล้ว
อาจจ�าแนกเป็น ๔ กลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มอนุสัญญาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ
แรงงานบังคับ กลุ่มอนุสัญญาที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเท่าเทียมกัน
และการไม่เลือกปฏิบัติ กลุ่มอนุสัญญาเกี่ยวกับการใช้แรงงานเด็ก และ
กลุ่มอนุสัญญาเกี่ยวกับเสรีภาพในการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรอง
ดังมีรายละเอียดดังนี้
(๑) อนุสัญญากลุ่มแรงงานบังคับ ๕๐ ปีหลังจากที่
ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีสมาชิก ILO ก็เริ่มให้ความสนใจ
ในการน�าหลักการแรงงานสากลมาใช้เป็นเกณฑ์ในการ
พัฒนาบทกฎหมายและแนวปฏิบัติภายในเกี่ยวกับ
การแรงงาน ดังเห็นได้จากการที่รัฐบาลไทยได้ให้สัตยาบัน
อนุสัญญาฉบับที่ ๒๙ ว่าด้วยแรงงานบังคับ เมื่อวันที่
๒๖ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๖๙ ซึ่งเป็นอนุสัญญาที่มีเนื้อหา
เกี่ยวด้วยการยกเลิกการกระท�าที่เข้าข่ายการเกณฑ์
แรงงาน หรือการได้แรงงานจากผู้อื่นด้วยวิธีการขู่เข็น
บังคับ ที่ผู้ใช้แรงงานไม่เต็มใจ อย่างไรก็ตาม การเกณฑ์
แรงงานอาจเกิดขึ้นได้หากประโยชน์ที่พึงเกิดขึ้นจะเป็นไป
เพื่อส่วนร่วมหรือสาธารณะ อันได้แก่ การรับราชการทหาร
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 97 13/2/2562 16:24:11