Page 100 - kpi20761
P. 100
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 99
๘ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๙๙ ได้มีการให้สัตยาบันอนุสัญญา
ฉบับที่ ๑๐๐ ว่าด้วยการจ่ายค่าตอบแทนที่เท่าเที่ยมกัน
ซึ่งเป็นตราสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปรับใช้หลักการ
ว่าด้วยค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน ส�าหรับงานที่มีลักษณะ
สภาพ และเงื่อนไขของงานอย่างเดียวกัน โดยไม่ค�านึงถึง
เพศของคนงาน อันสะท้อนให้เห็นถึงเกณฑ์การก�าหนด
ค่าตอบแทนการท�างานที่ต้องสอดคล้องกับลักษณะหรือ
สภาพของงานเป็นส�าคัญ โดยไม่ควรน�าบริบทในเรื่องเพศ
มาเป็นเงื่อนไขเพื่อก�าหนดความแตกต่าง อย่างไรก็ตาม
น่าสังเกตว่า ILO ได้ก�าหนดให้อนุสัญญาฉบับที่ ๑๑๑
ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติ (การท�างานและอาชีพ) เป็น
ตราสารอีกฉบับที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักความเท่าเทียม
และการไม่เลือกปฏิบัติ โดยเนื้อหาของอนุสัญญาฉบับนี้
ต้องการเน้นย�้าถึงการปฏิบัติต่อลูกจ้างผู้ใช้แรงานอย่าง
เท่าเทียม โดยไม่มีการแบ่งแยก กีดกัน หรือล�าเอียงใดๆ
ที่กระท�าบนพื้นฐานของเชื้อชาติ สีผิว เพศ ศาสนา
ความคิดเห็นทางการเมือง สัญชาติ หรือพื้นฐาน
ทางสังคม อันมีผลลบล้างหรือท�าความเสียหายต่อ
ความเสมอภาคของโอกาสหรือการปฏิบัติเกี่ยวกับการฝึก
อาชีพ การจ้างงาน หรือประกอบอาชีพ ซึ่งประเทศไทย
เพิ่งจะให้สัตยาบันเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐
อันมีผลให้ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติกฎหมาย
และแนวปฏิบัติภายในให้สอดคล้องกับเนื้อหาของ
อนุสัญญาฉบับนี้ภายในวันที่ ๑๓ มิถุนายน นี้ (พ.ศ. ๒๕๖๑)
อันถือเป็นพันธกิจส�าคัญที่รัฐบาลไทยจ�าต้องให้ความใส่ใจ
เพื่อให้เกิดความถูกต้องในฐานะรัฐสมาชิกที่ให้สัตยาบัน
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 99 13/2/2562 16:24:11