Page 96 - kpi20761
P. 96
การพัฒนาและปรับปรุงบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้องกับหลักการสากลและแนวทางปฏิรูปประเทศ 95
สัตยาบันกับอนุสัญญาฉบับดังกล่าวไว้แล้วหรือไม่ ด้วยเหตุนี้ ท�าให้
๑๒๕
เห็นว่าระบบตรวจสอบที่ ILO ได้ก�าหนดขึ้น สะท้อนถึงเจตนารมณ์ที่ ILO
มุ่งความส�าคัญในบทบาทและหน้าที่ของตนกับการพัฒนามาตรฐานแรงงาน
ที่มีเนื้อหาบรรจุอยู่ในกลุ่มอนุสัญญาแกนมากที่สุด
สรุป บทบาทและการด�าเนินการของ ILO ดังกล่าวมานี้นับเป็น
บริบทในทางระหว่างประเทศที่ส่งผลโดยตรงต่อการก�าหนดแนวทาง
ในการพัฒนาและปรับปรุงบทกฎหมายไทย ดังนี้แล้ว สิ่งแรกที่จ�าเป็นต้อง
ทราบเป็นเบื้องต้นเพื่อก�าหนดแนวทางและวิธีการในการพัฒนากฎหมาย
แรงงานไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลนี้ ก็คือการประเมินสถานะ
ของกฎหมายแรงงานไทยในปัจจุบันว่ามีส่วนใดที่ยังไม่สอดคล้องกับ
หลักการสากล และเป็นเรื่องที่ถือว่าส�าคัญและจ�าเป็นที่จะต้องได้รับการ
แก้ไขปรับปรุงอย่างเร่งด่วนหรือได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในอนาคต
๑.๒.๒ ความสอดคล้องและประเด็นค�าถามของกฎหมาย
แรงงานไทยกับหลักการแรงงานสากล
ในฐานะหนึ่งในประเทศผู้เริ่มก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่าง
ประเทศ ประเทศไทยยึดเอามาตรฐานการใช้แรงงานที่ ILO ก�าหนดขึ้น
เป็นแนวทางหลักในการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายแรงงานที่รัฐบาล
ทุกสมัยจ�าต้องให้ความส�าคัญเสมอมา แต่ผลส�าเร็จของการด�าเนินนโยบาย
ข้อนี้อาจมีมากน้อยต่างกันตามแต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม
๑๒๕ http://www.ilo.org/global/standards/applying-and-promoting-international-labour-
standards/committee-on-freedom-of-association/lang--en/index.htm
inside_ThLabourLaw_c1-2.indd 95 13/2/2562 16:24:11