Page 80 - kpi20680
P. 80
56
พอเพียงและยกระดับกิจการการปลูกสร้างป่า ครอบครัว สวนป่าขนาดกลางให้ตอบสนองระบบ
นิเวศน์มากขึ้นและสามารถสร้างราย ได้ให้กับเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม
การกระจายอ านาจและระบบการจัดการร่วมกันหลายฝ่าย สิทธิชุมชน ยังเป็นทิศทางส าคัญ
ในการสร้างธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อม ปฏิรูประบบอ านาจในการจัดการทรัพยากรในพื้นที่ของ ตน
พร้อมกับการลดอ านาจของรัฐส่วนกลางในการควบคุมก ากับทรัพยากร มีบทบาทในการ สนับสนุน
เชิงนโยบาย วิชาการ การประสานความร่วมมือ และจัดการความขัดแย้ง
หลักการสนับสนุน ตรวจสอบ และถ่วงดุล โดยการจัดการทรัพยากรของทุกภาคส่วนทั้งรัฐ
เอกชน ชุมชน และสังคม จะต้องมีการสนับสนุน ตรวจสอบ ถ่วงดุลที่เหมาะสม
กลไกในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ระหว่างภาครัฐกับประชาชน ควรปฏิรูปขบวนประชา
สังคม ให้เป็นขบวน ประชาชนที่มีคุณภาพเพราะด้วยข้อจ ากัดนโยบาย ประเด็นปัญหาในระดับ
พื้นที่ ที่มักถูกแช่แข็งอยู่ กับปัญหาเดิม จ าเป็นต้องออกแบบใหม่ โดยภาค ประชาสังคม เพื่อไป
ต่อรองทางการเมืองและให้ ท าให้เป็นเป้าหมายเดียวกัน อาทิเช่น ขบวนเจรจา ต่อรองทางการเมือง
โดย “การใช้พื้นที่เป็นตัว ตั้ง” ในการขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฐาน ทรัพยากรฯ ยุทธศาสตร์
ส าคัญ คือ การจัดขบวน องค์กรให้มีความชัดเจน เข้มแข็งมากขึ้น หรือในเชิง พื้นที่แต่ละจังหวัด
อ าเภอ ต าบล จัดขบวนใหม่ภาย ใต้ Roadmap เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการ ทรัพยากร หรือ
เร่งรัดให้สามารถพิทักษ์ทรัพยากร หรือฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ได้ ให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น
ควรการขยายกลุ่มแนวร่วมให้ชัดเจนมาก ขึ้น จากเดิมที่มีแต่ชาวบ้าน ขยายการท างานร่วม
กับท้องถิ่นมากขึ้น บางพื้นที่เริ่มขยายแนวคิดการ ท างานไปสู่ราชการในระดับท้องถิ่น ระดับภาค
รวม ทั้งกลุ่มองค์กรดั้งเดิมที่มีอยู่ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มหนุ่มสาว รวมทั้งกลุ่มนักวิชาการ ที่
พร้อมจะเข้า มาร่วมขับเคลื่อนการท างานและเป็นพลังส าคัญใน การที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาของ
ประชาชนมาก ขึ้น ที่ส าคัญปัจจุบันเริ่มมีกลุ่มภาคีภาคธุรกิจ หรือ ผู้ประกอบการทางสังคม เข้ามา
สนับสนุนให้ชาว บ้านเปลี่ยนรูปแบบการผลิต ที่ใช้พื้นที่น้อยลง แต่ ให้ผลผลิตมากขึ้น หรือใช้พื้นที่
ลดลง และได้ผลผลิต เพิ่มมากขึ้น
ควรสร้างระบบยุติธรรมต้นทางเพื่อลด ปัญหาความขัดแย้ง โดยเอาปัญหาและชุมชนเป็น
ตัวตั้ง เมื่อเกิดกรณีพิพาทในชุมชน สามารถที่จะ ใช้ระเบียบ กติกาข้อตกลงในระดับชุมชน เป็นฐาน
ในการไกล่เกลี่ยข้อพาท ภายใต้ระบบฐานข้อมูล กลไกระดับชุมชนต าบล และอ าเภอ ที่สามารถ ท า
ให้กรณีพิพาทไม่ไปสู่การพิจารณาในชั้นศาล แต่อยู่ในระเบียบข้อตกลงของคณะกรรมการะดับ
ชุมชน ต าบล และอ าเภอ เป็นส าคัญ ส่งผลท าให้ สถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ เริ่มคลี่คลายและ
สามารถแก้ไขปัญหาในระดับหนึ่งได้