Page 78 - kpi20680
P. 78
54
มิถุนายน 2541 แต่พบว่ามีข้อจ ากัดที่ไม่สามารถด าเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งงบประมาณ
บุคลากร ที่จะเข้ามาด าเนินการส ารวจ
ปัญหาการไม่รวมกลุ่มขององค์กรสนับสนุนที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับองค์กรชุมชน
จ านวนมากทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สภาเกษตรกรแห่งชาติ กองทุน
ฟื้นฟูเกษตรกร องค์กรพัฒนาเอกชน ส านักงานกองทุนส่งเสริมการสร้างสุขภาพ สมัชชาสุขภาพ
แห่งชาติโครงการหลวง กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมส่วนป่าชุมชนกรมป่าไม้ กรมอุทยาน
แห่งชาติ ที่มีบทบาทส าคัญในการสนับสนุนส่งเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนในการจัดการ
ปัญหาที่ดินและการเกษตร แต่เนื่องจากระบบการท างานที่แยกกันการท างานตามภารกิจแผนงาน
ของหน่วยงานต้นสังกัด ท าให้มีการจัดตั้งองค์กรชุมชนสังกัดองค์ของตนอย่างหลากหลาย ท าให้
ชุมชนสับสน มีองค์กรซ ้าซ้อนจ านวนมาก จนท าให้ไม่สร้างสามารถสร้างและเชื่อมโยงพลังการ
แก้ไขปัญหาขององค์กรชุมชนทั้งในระดับปฏิบัติและการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะร่วมกันอย่าง
มีพลังได้
ปัญหาข้อจ ากัดด้านการยกระดับสิทธิชุมชน แนวคิดสิทธิชุมชน ตั้งอยู่บนรูปแบบ
หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักวิชาการในบางกลุ่มที่มองว่าสิทธิชุมชนตั้งอยู่บนแนวคิดแบบคับ
แคบและสุดโต่ง ผูกติดอยู่ความเป็นสังคมแบบจารีตนิยมดั้งเดิม มองชุมชนแบบโรแมนติก แนวคิด
กีดกันสิทธิผู้อื่น ในขณะที่รัฐ คนชั้นกลาง มองว่าสิทธิชุมชนไม่สามารถอยู่เหนือสิทธิทางกฎหมาย
สิทธิชุมชนคือการกีดกั้นการเข้าถึงสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชน และไม่เชื่อว่าหลักสิทธิชุมชนจะเป็น
เครื่องมือการจัดการทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพได้ ปัจจุบันสิทธิชุมชนจึงไม่สามารถเป็น
เครื่องมือในการเสริมศักพยภาพให้กับองค์กรชุมชนและใช้ศักยภาพนั้น มาจัดการร่วมกับรัฐได้อย่าง
เหมาะสมลดต้นทุนการจัดการของรัฐ ไปพร้อมกับการเพิ่มโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
ประชาชนได้
การขับเคลื่อนเพื่อปรับเปลี่ยนมนโนทัศน์ หลักคิดในการบริหารจัดการป่ า
ข้อเสนอให้มีการก าหนดความหมายของพื้นที่ป่าปกคลุม แต่ให้นับรวมพื้นที่การปลูกป่าใน
พื้นที่ ที่มีเอกสารสิทธิ กรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือหนังสืออนุญาตจากหน่วยงานราชการ ให้มีสถานะเป็น
ป่าอีกประเภทหนึ่ง ไม่ใช่การนับเฉพาะเพียงพื้นที่ป่าปกคลุมในพื้นที่ป่าตามกฎหมายเท่านั้น
หลักการมีส่วนร่วม สิทธิชุมชน จะเป็นองค์ประกอบส าคัญของการเปลี่ยนมาตรการทาง
นโยบาย และกฎหมายที่มุ่งเน้นการควบคุม ห้าม ไปสู่มาตรการในการส่งเสริม สนับสนุน สร้าง
แรงจูงใจ ให้ประชาชน เข้ามาด าเนินการจัดการได้ตามความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น การขับเคลื่อนเพื่อ
สร้างปฏิบัติการและโมเดลในการแก้ไขปัญหาภาคประชาชน ได้ลุกขึ้นมา ส ารวจจัดท าฐานข้อมูล