Page 82 - kpi20680
P. 82

58







                       ประชาชนมากที่สุด ทั้งนี้ ประเด็นปัญหา  ที่ดินเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างในการบริหารจัดการที่ดิน
                       ของประเทศไทย ที่มีประวัติศาสตร์และพัฒนาการ  มายาวนาน และสัมพันธ์กับโครงสร้างนโยบาย

                       ในหลายมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคง  ซึ่งต่างล้วนเป็นปัจจัยส าคัญของ

                       ปัญหาความเหลื่อมล ้าของการถือครองที่ดินของประเทศไทยในปัจจุบัน
                              ปัญหาการกระจุกตัวของที่ดินเอกสารสิทธิ์ ปัญหาการกระจุกตัวของที่ดินเอกสารสิทธิ์ เป็น

                       สาเหตุส าคัญของปัญหาความเหลื่อมล ้าการถือครอง ที่ดินในประเทศไทย เนื่องจากเกษตรกรและผู้

                       ยากจนจ านวนมากไม่สามารถรักษาที่ดินไว้ได้ ส่งผลให้ที่ดินตกไปสู่กลุ่มทุน เกิดปัญหาการกระจุก
                       ตัวของการถือครองที่ดิน โดยคนกลุ่มน้อยของประเทศถือครองที่ดิน  ส่วนมากของประเทศใน

                       ลักษณะกักตุนเพื่อเก็งก าไร น าไปสู่ปัญหาที่ดินถูกปล่อยร้าง ปัญหาการใช้ที่ดินตน  กว่าศักยภาพ

                       และปัญหาการใช้ที่ดินผิดวัตถุประสงค์ อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะมีบทความวิชาการและรายงานวิจัยที่ได้
                       วิเคราะห์สภาพปัญหาและสาเหตุของ ปัญหาที่ดินไทยมีอยู่จ านวนมากในช่วงเวลาประมาณ 50 ปีที่

                       ผ่านมา และมีการยอมรับในระดับนานาชาติ  ว่า โครงการออกโฉนดของประเทศไทยได้ประสบ

                       ความส าเร็จเป็นอย่างมาก แต่ดูเหมือนว่าปัญหาที่ดินของ  ไทยไม่ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นเท่าใดนัก

                       เพราะประเด็นปัญหาที่เคยมีการกล่าวถึงในอดีตเมื่อกว่าร้อยปีก่อน ในงานเขียนของพระองค์เจ้าดิลก
                       นพรัตน์และพระยาสุริยานุวัตร์ ก็ยังคงมีปัญหาอยู่เช่นเดิมในตอนนี้ ทั้งใน  ด้านประสิทธิภาพและ

                       ความเป็นธรรมในการถือครองที่ดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน รวมถึงปัญหาการสูญ  เสียที่ดินของ

                       เกษตรกรรายย่อย งานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ของจามะรี เชียงทอง และคณะ (2554) พบว่า การ เร่งรัดออก

                       โฉนดโดยไม่มีการรองรับความมั่นคงด้านอื่นๆ ของเกษตรกรเป็นปัจจัยส าคัญที่ท าให้เกิดระบบ
                       เศรษฐกิจแบบทุนนิยมอย่างรวดเร็วในภาคชนบท กลุ่มทุนได้เข้าไปกว้านซื้อที่ดินในหลายพื้นที่เพื่อ

                       น ามา  ลงทุนท าธุรกิจเกษตรกรรมขนาดใหญ่ หรือน าไปจ านองกับธนาคารเพื่อกู้ยืมเงินมาลงทุนใน

                       ธุรกิจต่างๆ (พลเดช ปิ่นประทีป,2557)
                              ในช่วง 10  ปี ที่ผ่านมา ปัญหาการไร้ที่ดินและสูญเสียที่ดินของเกษตรกรและผู้ยากจนทวี

                       ความรุนแรง ขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการส ารวจลักษณะการถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรปี 2556 ของ

                       ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่า จากพื้นที่เกษตรกรรมทั้งสิ้นกว่า 149.24 ล้านไร่ 77.64 ล้านไร่
                       หรือร้อยละ 52  เป็นพื้นที่  เช่า โดยพื้นที่ที่มีการเช่าที่ดินเพื่อการท าเกษตรกรรมมากที่สุด คือ ภาค

                       กลาง ซึ่งมีมากกว่า 10  จังหวัดที่  มีอัตราการเช่าที่ดินมากกว่าร้อยละ 40  ขณะที่ 71.59  ล้านไร่เป็น

                       พื้นที่ของเกษตรกรเอง แต่ในจ านวนนี้  มี 29.72  ล้านไร่ ติดจ านอง อีก 1.15  แสนไร่ อยู่ใน
                       กระบวนการขายฝากซึ่งมีความเสี่ยงที่ที่ดินจะหลุดมือ  จากเกษตรกรไปเป็นของเจ้าหนี้นอกระบบ

                       หรือสถาบันการเงินทั้งของรัฐและเอกชนหากไม่สามารถช าระหนี้ได้ตามก าหนด จะส่งผลให้พื้นที่

                       เกษตรกรรมลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเกิดปัญหาการเช่าที่ดินที่ไม่ เป็นธรรมของเกษตรกรรายย่อย
   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87