Page 86 - kpi20680
P. 86

62







                       2541  แทน  โดยกรมป่าไม้ได้จัดท าโครงการจัดการทรัพยากร  ที่ดินป่าไม้เพื่อเป็นเครื่องมือในการ
                       ด าเนินการแก้  ปัญหา แต่ยังพบกับปัญหาอุปสรรคมากมายซึ่งเกิด  จากการขาดการมีส่วนร่วมของ

                       ภาคประชาชนใน  การแก้ปัญหาดังกล่าว รวมทั้งเครื่องมือแนวทางและ  ข้อก าหนดที่ไม่เอื้อต่อการ

                       แก้ปัญหาอย่างแท้จริง  เช่น กระบวนการในการส ารวจข้อมูลที่อาศัยโดย  ใช้ภาพถ่ายทางอากาศปี
                       2545  เป็นเกณฑ์หลัก  ในการพิจารณาก าหนดว่าอยู่ก่อนหรืออยู่หลังป่า  เท่านั้น แต่ในสภาพ

                       ข้อเท็จจริงจ านวนมากที่เงื่อนไข  ดังกล่าวจ าเป็นต้องมีข้อยกเว้น เช่น ระบบการท าเกษตรแบบไร่

                       หมุนเวียน การส่งเสริมให้มีการรวม  กลุ่มบ้านจัดสรรที่ใหม่ พื้นที่ท ากินเดิมแต่มีปัญหาพิพาทเรื่อง
                       การปลูกสร้างสวนป่า เรือนยอดเป็นสวน  ป่าธรรมชาติในระบบสวนเมี่ยงในภาคเหนือ หรือ  สวน

                       สมรมในภาคใต้

                              ในขั้นตอนการส ารวจ ข้อมูลพบในหลาย  หมู่บ้านมีข้อจ ากัดในเรื่องสภาพภูมิประเทศ ท า
                       ให้ พื้นที่ท ากินส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ลาดชัน หรือท า กินในลักษณะของไร่หมุนเวียน ทางเจ้าหน้าที่

                       รัฐ  พิจารณาว่าไม่เข้าข่ายตามมติคณะรัฐมนตรี จึงไม่  ด าเนินการส ารวจ เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี

                       เมื่อ วันที่ 2 มิถุนายน 2530 และ 9 พฤษภาคม 2532 เรื่องหลักเกณฑ์ในการก าหนดสภาพป่าเสื่อม

                       โทรม ที่ก าหนดไว้ว่า พื้นที่ในชั้นคุณภาพลุ่มน ้าชั้น 1 และ 2 แม้จะมีต้นไม้น้อยเพียงใดก็ตาม ก็มิให้
                       ก าหนด เป็นป่าเสื่อมโทรม เงื่อนไขดังกล่าวท าให้สิทธิของ ประชาชนที่ท ากินในเขตชั้นคุณภาพลุ่ม

                       น ้าชั้น 1  และ  2  ถูกจ ากัดไว้เพียงการก าหนดเป็นพื้นที่ที่ควบคุม  ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30

                       มิถุนายน 2541 ซึ่งไม่มีสถานะแห่งสิทธิที่ชัดเจน


                              กลไกในระดับชุมชนจ าเป็นต้องพิจารณาการกระจายอ านาจ รับรองสิทธิชุมชนและสร้าง

                       การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้-ที่ดินเพื่อความยั่งยืนและเป็น

                       ธรรมอย่างจริงจัง
                              (1)  กระจายสิทธิในการจัดการทรัพยากรป่าไม้-ที่ดิน กระจายการถือครองที่ดินและรับรอง

                       “สิทธิชุมชน”

                              (2) สร้างการมีส่วนร่วมแก่ประชาชน ชุมชนท้องถิ่น เครือข่ายภาคประชาชนและหน่วยงาน
                       ภาคี  ต่างๆที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สนับสนุนให้เกิดแผนการจัดการ

                       ทรัพยากรร่วมในระดับชุมชน ชุมชนท้องถิ่น และมีกฎหมายระดับท้องถิ่น (ข้อบัญญัติท้องถิ่น)

                       รองรับมีแผนงานและงบประมาณสนับสนุนกิจกรรมตามแผนการจัดการทรัพยากรป่าไม้-ที่ดินร่วม
                              (3)  พัฒนาโครงสร้างการบริหารงาน เกิดกลไกร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้-ที่ดินที่มี

                       ประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหาได้จริง ลดความขัดแย้งและข้อพิพาทต่างๆได้
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91