Page 91 - kpi20680
P. 91

67







                               (1)  การใช้ประโยชน์ที่ไม่ยั่งยืน เช่น การท่องเที่ยวที่เน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพและมี
                       ผลกระทบต่อ  ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรวมถึงการยึดครองพื้นที่ชายฝั่งเป็นของเอกชน การ

                       ประมงที่มุ่งกวาด จับสัตว์น ้าทุกชนิดด้วยเครื่องมือที่ท าลายพันธุ์สัตว์น ้าวัยอ่อนเช่น อวนลาก เรือปั่น

                       ไฟ เป็นต้น การ  ขุดเจาะน ้ามันและก๊าซธรรมชาติ รวมทั้งการทิ้งแท่นขุดเจาะไว้ในทะเลโดยไม่มี
                       ผู้รับผิดชอบรื้อถอน การพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งที่ยังก่อมลภาวะทางทะเล การขนส่งทางทะเลที่

                       สร้างมลภาวะทาง  ทะเล เป็นต้น ขณะที่การใช้ประโยชน์ในปัจจุบันยังเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการ

                       แก้ไข แผนพัฒนาของ  รัฐบาลยังมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ชายฝั่งและการขนส่งทาง
                       ทะเล เช่น โครงการพัฒนา  อุตสาหกรรมชายฝั่งภาคใต้ การถมทะเลเพิ่มพื้นที่อุตสาหกรรมในภาค

                       ตะวันออก การสร้างสะพาน  เศรษฐกิจสตูล-สงขลา ระนอง-ชุมพร และการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ

                       พิเศษ เป็นต้น
                              (2)  การละเมิดสิทธิชุมชนชายฝั่งและชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชุมชนท้องถิ่น

                       ดั้งเดิมที่ตั้งถิ่นฐาน  ต่อเนื่องในอดีต รวมทั้งชนเผ่าแห่งอันดามันอย่างอูรักราโว๊ย มอแกน และมอ

                       แกลน ชุมชนเหล่านี้มีปัญหา  ทั้งที่ตั้งชุมชนซึ่งรัฐมีกฎหมายซ้อนทับว่าเป็นที่ดินของรัฐ เช่น ที่ดิน

                       ชายฝั่งของกรมเจ้าท่า ที่ดินป่า  สงวนแห่งชาติ ที่ดินอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งมีการออกเอกสารสิทธิ
                       ที่ดินให้เอกชนทับซ้อนไปในที่ดิน ของชุมชน เป็นต้น

                              (3)  ความไม่เป็นธรรมในการบริหารจัดการผลประโยชน์ทางทะเล ที่กระจุกตัวอยู่กับนัก

                       ลงทุน  อุตสาหกรรม ขาดการบริหารจัดการที่จะน ารายได้จากน ้ามัน ก๊าซธรรมชาติ การท่องเที่ยว

                       และ อุตสาหกรรมการประมงมาพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนชายฝั่ง และอนุรักษ์ฟื้นฟูทะเล
                              (4) ความเสี่ยงจากภาวะความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ชุมชนชายฝั่งมีความเสี่ยงสูงและ

                       เป็นด่าน หน้าที่จะเผชิญผลกระทบจากพายุที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น ภาวะน ้าทะเลที่ร้อนขึ้นส่งผลต่อ

                       วงจรชีวิต ของสัตว์น ้าความสูงของระดับน ้าทะเล ที่เกิดจากอากาศของโลกที่ร้อนขึ้น


                              ควรสร้างกลไกภาคประชาชนสังคมโดยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นทรัพยากร

                       สาธารณะ มีการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์บนหลัก  การพัฒนาที่ยั่งยืน และใช้ระบบนิเวศน์เป็น
                       ฐาน การรับรองสิทธิชุมชน กระจายอ านาจ และประชาธิปไตย แบบมีส่วนร่วม ยุทธศาสตร์

                               (1) สิทธิชุมชน สถาปนาสิทธิชุมชนให้มีที่ยืนที่มั่นคง 4 ด้าน คือ ปฏิบัติการจริงของชุมชน

                       การมีความ ชัดเจนในทางทฤษฎี ก าหนดไว้ในนโยบายของรัฐ สร้างความชัดเจนในรัฐธรรมนูญและ
                       กฎหมาย

                               (2) ยุติแผนพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่ง สะพานเศรษฐกิจอันดามัน-อ่าวไทย โรงไฟฟ้าถ่าน

                       หินและ นิวเคลียร์ เพื่อน าประเทศก้าวสู่สังคมคาร์บอนต ่าตามกรอบข้อตกลงปารีส
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96