Page 95 - kpi20680
P. 95

71







                       จนกระทั่งถึงการติดตามและประเมินผล เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการรับรู้ เรียนรู้ การปรับเปลี่ยน
                       โครงการร่วมกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย (บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคณะ, 2553)

                       การศึกษาในครั้งนี้ได้ศึกษานิยามความหมายตามที่นักวิชาการสรุปดังตัวอย่างข้างต้น  และจาก

                       การศึกษาถอดบทเรียน  การเรียนรู้ผ่านการสัมมนา  การพูดคุยกับผู้รู้ผู้ช านาญการ  จากผู้มี
                       ประสบการณ์ตรง          จึงสรุปนิยามความหมายการมีส่วนร่วมในบริบทของการจัดการ

                       ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้

                              การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  คือ  “ความส านึก
                       รับผิดชอบต่อสิทธิบทบาทในการท าหน้าที่จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความ

                       สมดุล รับประโยชน์อย่างยั่งยืน เรียนรู้ปรับตัวให้สามารถด ารงชีวิตอยู่ได้อย่างสอดคล้องเหมาะสม

                       กับ สภาพแวดล้อมระบบนิเวศธรรมชาติ โดยไม่สร้างผลกระทบก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสื่อม
                       โทรม และความมั่นคงของระบบนิเวศธรรมชาตินั้น”

                              2) เงื่อนไขของการเข้าถึงการมีส่วนร่วมที่แท้จริง

                              ความเสมอภาค ในกระบวนการมีส่วนร่วม  ทุกคนต้องได้รับเกียรติอย่างเท่าเทียมกันแบบ

                       เพื่อนร่วมงาน ทุกคนต่างมีสิทธิบทบาทหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายต้อง

                       ด าเนินไปด้วยความสัมพันธ์  ที่ก่อให้เกิดความสร้างสรรค์  รู้รักสามัคคี  ทุกคนต้องมีความเชื่อว่า
                       มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพ (ถวิลวดี บุรีกุล,  2552)

                       ความโปร่งใส ในกระบวนการมีส่วนร่วม เป็นการท างานร่วมกันด้วยความตั้งใจจริง มีความจริงใจ

                       ต่อกัน  โดยไร้การแอบแฝงซึ่งผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง  ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต  มีการ
                       เสียสละ และสามารถ ตรวจสอบกันได้ด้วยความยุติธรรม (ถวิลวดี บุรีกุล, 2552)

                              ประสิทธิภาพ     กระบวนการมีส่วนร่วม      เป็นการท างานที่ต้องอาศัยปัจจัยความรู้

                       ความสามารถ  การใช้ภูมิปัญญา  ด้วยหลักความเป็นเหตุเป็นผล  ยึดมั่นต่อประโยชน์ส่วนรวมเพื่อ
                       ความสมดุล มั่นคง ยั่งยืน (ถวิลวดี บุรีกุล, 2552, คณิต ธนูธรรมเจริญ, 2558)

                              ศักยภาพ กระบวนการมีส่วนร่วม  ทุกคนที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกันบนฐานความเชื่อมั่นที่จะ

                       บรรลุ วัตถุประสงค์ เป้าหมายอย่างมีคุณค่าได้ด้วยพลังสร้างสรรค์ของทุกๆ คน และเป็นการแสดง
                       พลังความสามารถ  ออกมาอย่างเต็มที่ด้วยจิตวิญญาณของการเข้าถึงกระบวนการมีส่วนร่วมนั้น

                       (คณิต ธนูธรรมเจริญ, 2558)

                              3) ประโยชน์ของการมีส่วนร่วม

                              เป็นการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล ้าทางสังคม อันเกิดจากความแตกต่าง
                       ของการเข้าถึงทรัพยากร  การจัดการที่ไม่ได้มีกระบวนการการมี  ส่วนร่วมของแต่ละภาคส่วน

                       โดยเฉพาะกลุ่มผู้ด้อยโอกาสนั้นมีโอกาสที่จะกีดกันคนบางกลุ่มออกจากการเข้าถึง
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100