Page 97 - kpi20680
P. 97

73







                              ประชาชนจะต้องได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารของรัฐ  ในการที่จะด าเนินการโครงการใด  ๆ  โดย
                       ผ่านการประชาคม  จะต้องได้รับรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้  เทคนิค  วิธีการต่าง  ๆ  ในกระบวนการ

                       ปฏิบัติการที่ครบถ้วน สมบูรณ์ สมดุล ไม่โน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่ง โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้

                       การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ การรับรู้และการเรียนรู้ ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชน ชุมชน
                       ต้องได้รับบริการอย่าง  เท่าเทียมกัน  โดยการเรียนรู้องค์ความรู้  เป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน  และ

                       พัฒนาศักยภาพประชาชน ให้เป็นผู้ที่รู้เท่าทันสถานการณ์ และเป็นผู้ที่มีความสามารถในการคิด การ

                       วิเคราะห์ เช่น ในการมีส่วนร่วมในการ จัดการกับปัญหาอุทกภัย ประชาชนควรมีสิทธิในการได้รับรู้
                       และเรียนรู้ถึงความเชื่อมโยงของวิถีชีวิตในเมือง  กับทรัพยากรที่ถูกส่งเข้ามาในเมือง  ผลกระทบที่

                       เกิดขึ้นกับระบบนิเวศในพื้นที่ต้นน ้า และการส่งผ่านของเสีย รูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดในเมืองขึ้นไปสู่

                       พื้นที่อื่นจนถึงผลกระทบต่อการระบายน าในพื้นที่ปลายน ้า เป็นต้น
                              วิธีการในการได้รับรู้ และเรียนรู้ข้อมูล มีหลายวิธีการที่สามารถด าเนินการได้ เช่น

                              -  การจัดตั้งให้มีศูนย์ข้อมูล  เป็นแหล่งข้อมูลในทุกเรื่องที่ประชาชนสามารถค้นหาได้ตาม

                       ความต้องการ

                              -  การเปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  มีศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน
                       ต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงได้โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

                              - การจัดท าสื่อในรูปแบบที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายหรือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  แต่ละ

                       กลุ่ม โดยปัจจุบันบทบาทของสื่อออนไลน์และสื่อทางสังคม (social media) เข้ามามีบทบาทมากขึ้น

                       ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในประเด็นสาธารณะทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ  โดย
                       เป็นวิธีการได้มากกว่าการสื่อสารทางเดียว ทั้งบทบาทในการให้ข้อมูล และบทบาทในการเป็นพื้นที่

                       แลกเปลี่ยนความ  คิดเห็น  การหารือ  และการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งนอกจากจะเป็นวิธีการใน

                       กระบวนการรับรู้และเรียนรู้แล้ว  ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือวิธีการในกระบวนการมีส่วนร่วม
                       กระบวนการอื่น ๆ โดยเฉพาะกระบวนการร่วมกันคิด ร่วมกันตัดสินใจ และการติดตามตรวจสอบ

                       หากแต่การใช้งานก็ควรเป็นไปด้วยความระมัดระวังเนื่องจาก ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ที่ผ่านระบบนี้

                       ยังไม่มีระบบคัดกรองอย่างในระบบอื่น ๆ ดังนั้นผู้เข้าร่วมหรือผู้ใช้งานควร ใช้ด้วยความระมัดระวัง
                       และมีสติในการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ  พร้อมทั้งการเปิดใจยอมรับความคิดเห็นและ  ข้อมูลที่

                       หลากหลาย (วัฒณี ภูวทิศ, ๒๕๕๗; Gil de Zuniga et al., ๒๐๑๒; Effing et al., ๒๐๑๑)

                              - การอบรม ศึกษาเรียนรู้ โดยการจัดหลักสูตรที่มีความสอดคล้องเหมาะสมตามบริบทภูมิ
                       สังคม

                              -  การจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม  เครือข่ายเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน

                       ประสบการณ์
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102