Page 99 - kpi20680
P. 99
75
โรงไฟฟ้า เนื่องจากมองว่าจะน าพาความเจริญเข้ามา มีการจ้างงาน และค้าขายได้คล่องขึ้น กลุ่ม
ผู้สนับสนุนมีทั้งชาวบ้านทั่วๆ ไปใน ต.ปากบาง จุดที่เตรียมการก่อสร้าง และกลุ่มธุรกิจค้าขาย
ตลอดจนกลุ่มที่ท าบ้านพักตากอากาศในพื้นที่ใกล้เคียง
แต่มีบางส่วนคัดค้านโครงการระบุว่า ตามแผนจะสั่งเข้าถ่านหินสะอาดจากประเทศ
อินโดนีเซียเข้ามาผลิตไฟฟ้า โดยต้องเผาถ่านหินวันละ 1,000 รถบรรทุกเป็นอย่างน้อย และเมื่อมี
การก่อสร้าง จะต้องย้ายชุมชนออกจากพื้นที่กว่า 100 ครัวเรือน ย้ายมัสยิด 2 แห่ง กุโบร์หรือสุสาน 2
แห่ง และโรงเรียนปอเนาะอีก 1 แห่ง ประชาชนบางส่วนในพื้นที่เชื่อว่า หากโครงการนี้เกิดขึ้น จะ
ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนซึ่งส่วนใหญ่ท าประมงชายฝั่ง ขณะที่
ชาวบ้านมองว่าพวกตนไม่ได้รับรู้ข้อมูลของโครงการอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการท ารายงาน
วิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรือ EHIA รวมทั้งข้อมูลผลกระทบที่จะเกิดกับ
ชุมชน โดยเฉพาะปัญหามลพิษในระยะยาวจากกระบวนการขจัดกากของถ่านหิน เฉพาะบ่อขี้เถ้าก็มี
ขนาดใหญ่ถึง 750 ไร่
ท าให้เห็นว่าระบบการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพยังไม่สามารถท าให้
ประชาชนในพื้นที่เข้าใจได้ ดังกล่าวจึงควรสร้างระบบการจัดรายงานวิเคราะห์ผลกระทบทาง
สิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่น่าเชื่อถือให้กับประชาชนในพื้นที่และใกล้เคียงให้รับรู้ได้ถึงผลดีและ
ผลเสียของการสร้างโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ มิฉะนั้นก็จะเป็นปัญหาในการใช้สิทธิฟ้องร้องของ
ประชาชนต่อรัฐ
(3) กระบวนการด าเนินงาน
เป็นกระบวนการที่ทุกคน ทุกภาคส่วนในเครือข่ายของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และ
สิ่งแวดล้อมจะต้องมีความรับผิดชอบต่อการด าเนินงานให้เป็นไปตามขั้นตอน ตามแผนงานที่ได้
ก าหนดไว้ และสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะในทางบวกหรือทางลบ และหากมีปัญหาเกิดขึ้นจะต้องแก้ไข
ปัญหาต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น การด าเนินงานของเครือข่ายรักหาดสมิหลา จังหวัดสงขลา ประชาชน
ชุมชน เครือข่าย ร่วมกันทดลอง แก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง จนประสบผลส าเร็จสามารถชะลอการ
กัดเซาะ จนได้ผืนดินกลับคืนมา
วิธีการในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยการได้รับรองสิทธิบทบาทหน้าที่ตามกฎหมายการมีส่วนร่วมตามข้อเสนอและแนวทางในการ
ปฏิรูปกลไก และการมีส่วนร่วม คือ