Page 94 - kpi20680
P. 94

70







                              กระบวนการในการกระจายอ านาจ  ที่ท าให้คนที่ไม่เคยมีอ านาจ  ที่ถูกกีดกันออกจาก
                       กระบวนการทางการเมืองและเศรษฐกิจได้ถูกดึงเข้ามาเป็นวิธีการในการปฏิรูปสังคมที่ท าให้คน

                       กลุ่มนี้ ได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์จากกลุ่มที่เคยกุมอ านาจและเงิน (Arnstien, 2512)

                       กระบวนการในการดึงเอาประชาชนเข้ามายุ่งเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจหรือการ แก้ปัญหาและ
                       ใช้ข้อมูลความคิดจากประชาชนในการตัดสินใจ (IAP2, 2545)

                              กลไกที่ท าให้ประชาชนสามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนถึงจุดสุดท้าย

                       เช่น  การก าหนดปัญหา  การน าเสนอทางเลือก  วิธีการในการพิจารณาทางเลือก  วิธีการในการลด
                       ผลกระทบของทางเลือกแต่ละทาง วิธีการที่ท าให้กระบวนการตัดสินใจ มีความโปร่งใส เป็นธรรม

                       วิธีการท า  ให้มุมมองทุกมุมมองได้รับการพิจารณา  และวิธีการที่ท าให้คนได้เข้าใจความคิดที่

                       แตกต่าง (Creighton, 2546)
                              การมีส่วนร่วมของประชาชน  (Public  Participation)  หมายถึง  การกระจายโอกาส  ให้

                       ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง  และการบริหารเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องต่าง  ๆ  รวมทั้งการ

                       จัดสรร  ทรัพยากรของชุมชนและของชาติ  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของ

                       ประชาชน โดยการให้ข้อมูลแสดงความคิดเห็น ให้ค าแนะน าปรึกษาร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ รวม
                       ตลอดจนการควบคุมโดยตรงจากประชาชน (คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ, 2545 ในบวรศักดิ์ อุวรร

                       โณ และคณะ, 2553 บวรศักดิ์ อุวรรโณ และคณะ, 2553)

                       การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นกระบวนการซึ่งประชาชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีโอกาส

                       แสดงทัศนะ และเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งมีการ
                       น าความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาก าหนดนโยบายและการตัดสินใจของรัฐ  การมี

                       ส่วนร่วมของ ประชาชนเป็นกระบวนการสื่อสารในระบบเปิด กล่าวคือ เป็นการสื่อสารสองทาง ทั้ง

                       อย่างเป็นทางการและ ไม่เป็นทางการซึ่งประกอบไปด้วยการแบ่งสรรข้อมูลร่วมกันระหว่างผู้มีส่วน
                       ได้ส่วนเสีย  และเป็นการเสริมสร้าง ความสามัคคีในสังคม  ทั้งนี้เพราะเป็นการเพิ่มคุณภาพในการ

                       ตัดสินใจ  การลดค่าใช้จ่ายและการสูญเสียเวลา  เป็นการสร้างฉันทามติ  และท าให้ง่ายต่อการน าไป

                       ปฏิบัติ หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า ช่วยให้เกิดความน่าเชื่อถือ และความชอบธรรม ช่วยให้ทราบความ
                       ห่วงกังวลของประชาชนและค่านิยมสาธารณชน รวมทั้งเป็นการพัฒนา  ความเชี่ยวชาญ  และ

                       ความคิดสร้างสรรค์ของสาธารณชน (ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ, 2551, บวรศักดิ์ อุวรรโณ และคณะ,

                       2553)
                              การมีส่วนร่วม คือ กระบวนการซึ่งประชาชน หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีโอกาสแสดงทัศนะ

                       แลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น เพื่อแสวงหาทางเลือกและการตัดสินใจต่าง ๆ เกี่ยวกับ โครงการ

                       ที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับร่วมกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงควรเข้าร่วมในกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้น
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99