Page 93 - kpi20680
P. 93
69
4.3 การกระจายอ านาจรัฐ
รัฐต้องคุ้มครองสิทธิของประชาชนที่จะอยู่ในสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะที่ดีและได้รับการ
รับรองสิทธิบทบาทหน้าที่ของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการจัดระบบและแผนการบริหาร
จัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า ความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรน ้า
ทรัพยากรทางทะเล ในด้านการสงวน คุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟู การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนการตั้งถิ่น
ฐาน การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเสมอภาคยุติธรรม รวมทั้งมีหน้าที่ในการ
ควบคุม ตรวจสอบ ติดตามประเมินผล
โดยการกระจายอ านาจ (Decentralization) ในนิยามทั่วไปนั้นจะหมายถึง การให้สิทธิและ
อ านาจ แก่ชุมชน ประชาชน ท้องถิ่น ภูมิภาคให้ได้มีอ านาจที่มีกฎหมายรองรับ มีบุคลากร มี
งบประมาณในการบริหารจัดการพื้นที่ของตนเอง ต่างจากเดิมที่อ านาจนั้นกระจุกอยู่แต่ในส่วนกลาง
เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการกระจายอ านาจนั้นเป็นฐานส าคัญที่จะท าให้ประชาธิปไตยมีความแข็งแกร่ง
จากการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่อย่างแท้จริงและยังเป็นแนวทางของการก าหนดแนวทางพัฒนา
ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอีกด้วย แต่นอกจากนั้นการกระจายอ านาจยังสามารถหมายรวมถึง
การกระจายอ านาจการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาค
โดยการสร้างกลไกเชิงโครงสร้าง ก าหนดบทบาทหน้าที่ให้เกิดการ ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของทุก
ภาคส่วน เช่น ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมสื่อสารมวลชน และ
หน่วยงาน องค์กร สถาบันทางสังคมหรือภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดการบูรณาการลดความ
ซ ้าซ้อน ลดความเหลื่อมล ้า ลดความขัดแย้ง สร้างความเป็นธรรม มีระบบการด าเนินการอย่างมี
ประสิทธิภาพและเอื้อประโยชน์ต่อมวลชนอย่างสมดุลยั่งยืน (ลิขิต ธีรเวคิน, 2546) การด าเนินการ
อย่างมีสิทธิภาพของภาครัฐจึงจ าเป็นต้องมีกลไกการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างเป็นระบบ
ดังกล่าวจึงขอวิเคราะห์กลไกลการมีส่วนร่วมของประชาชน
1) ความหมายของการมีส่วนร่วม
การที่สมาชิกทุกภาคส่วนมีสิทธิในการเข้าร่วมคิด ร่วมเสนอความคิดเห็น ร่วมวิเคราะห์
พิจารณาในกระบวนการตัดสินใจ ร่วมกันก าหนดแนวทางทิศทาง ร่วมกันจัดท าแผนงานเพื่อเป็น
กรอบแนวทาง ในการด าเนินงานพัฒนาและแก้ไขปัญหา ได้มีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบการ
ด าเนินงาน และร่วมได้รับประโยชน์จากการพัฒนานั้น ๆ อย่างยุติธรรม กระบวนการมีส่วนร่วมนี้
จะเป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการ พัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะท างานศึกษากลไกและการ
มีส่วนร่วมได้ทบทวนเอกสารทางวิชาการเพื่อท า ความเข้าใจความหมายของการมีส่วนร่วม ซึ่งได้มี
นักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้