Page 96 - kpi20680
P. 96

72







                       ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันน ามาสู่ความยากจน ปัญหาด้านสุขภาวะและความแตกแยก
                       ของสังคม  ในทางตรงข้ามกลุ่มคนเหล่านี้มีโอกาสที่จะถูกผลักให้ออกไปรับความเสี่ยง  และ

                       ผลกระทบจากการจัดการภัยธรรมชาติ จนน ามาสู่การสร้างความเปราะบางของคนบางกลุ่มในที่สุด

                       (Cernea, and Schmidt-Soltau, 2549; คณิน หุตานุวัตรและคณะ, 2557)
                              การมีส่วนร่วมยังช่วยลดความขัดแย้งระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะในประเด็นซึ่งเป็น

                       เรื่องที่ชุมชนให้ความส าคัญ แม้ว่าในระยะเริ่มต้นกระบวนการ การมีส่วนร่วมอาจท าให้ขั้นตอนใน

                       การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใช้เวลามากขึ้น แต่หากการจัดการนั้นขาดการมีส่วน
                       ร่วมอย่างแท้จริงตั้งแต่ช่วงต้นของกระบวนการแล้ว  โอกาสที่จะเกิดความขัดแย้ง  ระหว่างกลุ่มผู้มี

                       ส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องจะมีความเป็นไปได้สูง และความขัดแย้งนี้เองจะท าให้เกิดความล่าช้าใน

                       การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  และในหลายกรณีความขัดแย้งดังกล่าวอาจบาน
                       ปลายจนเกิดความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจนไม่สามารถจัดการ

                       ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อีกต่อไป  อันน ามาซึ่งความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ

                       และสิ่งแวดล้อมโดยรวมเป็นอย่างมาก (Creighton, 2548; Hutanuwatr, 2552)

                              กระบวนการการมีส่วนร่วมยังเปิ ดโอกาสให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
                       สิ่งแวดล้อมมีความเหมาะสมกับบริบท สภาพสังคมวัฒนธรรม  และสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้น

                       ๆ โดยการเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ ได้น ามุมมองข้อมูลและองค์ความรู้ของบริบทเฉพาะเข้ามา

                       ในกระบวนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม            ในทางกลับกันการจัดการ

                       ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่ขัดแย้งกับสภาพบริบทนั้นยากที่ได้รับการยอมรับ หรือได้รับ
                       การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ และเสียโอกาสในการปรับใช้ศักยภาพหรือภูมิปัญญาของการจัดการ

                       ทรัพยากรเดิมในพื้นที่เพื่อหนุนเสริม  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้อง

                       กับภูมิสังคม  (Hutanuwatr,  Bolin,  and  Pijawka,  2556)  สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึง
                       ความส าคัญและความจ าเป็นของการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของภาคส่วนต่าง  ๆ  ในการจัดการ

                       ทรัพยากร

                              5) กระบวนการมีส่วนร่วม 5 กระบวนการ
                              การมีส่วนร่วมคือการมีความส านึกรับผิดชอบต่อสิทธิบทบาทในการท าหน้าที่จัดการ

                       ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เกิดความสมดุล รับประโยชน์อย่างยั่งยืน เรียนรู้ปรับตัวให้

                       สามารถ  ด ารงชีวิตอยู่ได้อย่างสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมระบบนิเวศธรรมชาติ  โดยไม่
                       สร้างผลกระทบ ก่อให้เกิดความเสียหาย ความเสื่อมโทรม และความมั่นคงของระบบนิเวศธรรมชาติ

                       นั้น องค์ประกอบส าคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ประการ คือ

                              (1) กระบวนการรับรู้ เรียนรู้ข้อมูลข่าวสาร
   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101