Page 90 - kpi20680
P. 90
66
รวมทั้ง การสนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพ และรูปแบบการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่ชุมชนสามารถ
ด ารง ระบบผลิตดังกล่าวได้อย่างยั่งยืน
กลไกการสร้างส านึกและแรงจูงใจ การสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้งานศึกษาวิจัยและ
การพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการทรัพยากรโดยองค์กรชุมชนมีส่วนร่วม
(1) การสนับสนุนการด าเนินการศึกษาวิจัยแบบมีส่วนร่วม เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการ
บริหาร จัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา
องค์ความ รู้ท้องถิ่นและสร้างส านึกในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งน าผลการ
ศึกษาวิจัย ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และสถาบันวิชาการมาปรับใช้ในการบริหารจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ยั่งยืนต่อไป
(2) พัฒนาให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การพัฒนางานวิจัย
ไปสู่สถาบัน การศึกษาและหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งการสื่อสารรณรงค์เผยแพร่สื่อ
สาธารณะต่างๆ เพื่อสร้างส านึกและความเข้าใจที่ดีต่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยชุมชน
(3) สนับสนุนการสร้างแรงจูงใจให้แก่ประชาชนในการมีส่วนร่วมในการดูแล รักษา ฟื้นฟู
ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมของชาติ เช่น กองทุนป่าชุมชน กองทุนปลูกป่า ฯลฯ
4.2.4 การจัดการทรัพยากรทะเล และชายฝั่ง
ทะเลไทยตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล พ.ศ.2547 จ าแนกเป็นน่านน ้า
ภายใน หมายถึงทะเลที่อยู่ภายในเส้นฐานตรงที่ประเทศไทยก าหนดขึ้นเพื่อเป็นเส้นฐานในการวัด
ระยะทางออกไป ในทะเล ทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานตรง เขตต่อเนื่องอีก 12 ไมล์
ทะเลจากทะเลอาณาเขต และเขตเศรษฐกิจจ าเพาะออกไป 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานตรง เนื้อที่
ทะเลไทยรวม 350,000 ตาราง กิโลเมตร หรือคิดเป็น 2 ใน 3 ของพื้นที่บนบก ชายฝั่งทะเลมีความ
ยาวรวม 2,815 กิโลเมตร ใน 23 จังหวัด นอกจากนี้พระราชก าหนดการประมง พ.ศ.2558 ได้
ก าหนดให้มีแนวเขตทะเลชายฝั่งทั่วประเทศในระยะ สามไมล์ทะเลจากแนวชายฝั่งและเกาะ
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ส าคัญประกอบด้วย คลองหรือปากแม่น ้า พรุชายฝั่ง ป่าชายหาด ป่า
ชายเลน ชายหาด หญ้าทะเล ปะการัง ซึ่งรวมทั้งกองหินในทะเลและปะการังเทียม เกาะ สัตว์น ้า
น ้ามัน ก๊าซ แร่และสัตว์ทะเลส าคัญ พะยูน โลมา เต่าทะเล วาฬ และกลุ่มสัตว์ในแนวปะการัง
สถานการณ์ปัญหาทะเลและชายฝั่ง
การใช้ประโยชน์ทะเลและชายฝั่งปัจจุบันรวมทั้งแผนการพัฒนาในอนาคต มีปัญหาส าคัญ
4 ประการคือ