Page 103 - kpi20680
P. 103

79







                       การปกครอง ซึ่งหาก ด าเนินการโดยแยกส่วนเอามิตินิเวศธรรมชาติออกไปจากกระบวนการพัฒนา
                       ผลการด าเนินงานอาจส่งผล กระทบต่อมิตินิเวศธรรมชาติและมิติอื่น ๆ ได้

                              ตัวอย่างเช่น

                              เครือข่ายกลุ่มอนุรักษ์ป่าผาด า  จังหวัดสงขลา  มีกระบวนการวางแผน  เชิงบูรณาการทั้งใน
                       ระดับชุมชน  และระดับเครือข่ายเป็นหนึ่งในกระบวนการหลัก  โดยร่วมกับกระบวนการในการ

                       ระดมทรัพยากร แหล่งทุน วัสดุอุปกรณ์ เพื่อตอบสนองกับแผนเชิงบูรณาการณ์ ซึ่งกระบวนการใน

                       การวางแผน  ระดมความคิดนั้นยังเป็นกระบวนการให้เกิดการหล่อหลอมและก่อรูปของกลุ่ม
                       เครือข่าย

                              (3) กลไกพัฒนาการมีส่วนร่วม

                              การเข้าร่วมในกระบวนการมีส่วนร่วมนับว่ามีความซับซ้อนทั้งด้านประสิทธิภาพ ศักยภาพ
                       วิธีการ เพราะการมีส่วนร่วมเป็นเรื่องของหลายฝ่ายที่มีความหลากหลายจากแหล่งที่มา และพื้นฐาน

                       เป้าหมาย ความต้องการที่แตกต่าง กระบวนการมีส่วนร่วมจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                       จ าเป็นต้องมี  กระบวนการหล่อหลอมกล่อมเกลา  การสร้างความเข้าใจ  การปลูกฝังแนวคิด

                       อุดมการณ์ และกระบวนการในการพัฒนาความเข้มแข็งประชาชนและชุมชน การจัดการความรู้และ
                       ฐานข้อมูลเพื่อการปฏิรูปความคิด สร้างภาวะผู้น าในเพื่อการเปลี่ยแปลงและสร้างสรรค์สังคมจึงเป็น

                       กลไกส าคัญประการหนึ่งในการพัฒนา กระบวนการมีส่วนร่วม

                              ตัวอย่างเช่น

                              องค์กรภาคประชาสังคมชายแดนใต้ 20 องค์กรร่วมประชุมและแถลงข่าวการจัดตั้ง “สภา
                       ประชาสังคมชายแดนใต้” หรือ Dewan Masyarakat Madani Selatan Thai หรือที่มีชื่อภาษาอังกฤษ

                       ว่า Civil  Society  Council  of  Southernmost  Thailand  ได้ร่วมตัวกันที่อ าเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

                       วัตถุประสงค์ของการตั้ง “สภาประชาสังคมชายแดนใต้” ก็คือให้เป็นพื้นที่ในการระดมความคิดเห็น
                       จากภาคประชาชนในเรื่องการเพิ่มศักยภาพและพลังอ านาจของภาคประชาชน  ก าหนดทิศทางใน

                       การแก้ปัญหาและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสานงานและ

                       สนับสนุนกันระหว่างรัฐและเอกชน รวมทั้งสื่อสารและสร้างพื้นที่สาธารณะเพื่อการเปลี่ยนแปลง
                       และสร้างสรรค์สังคมอันเนื่องจากเพื่อให้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นพื้นที่สงบเรียบร้อย

                              (4) กลไกส่งเสริมระบบการผลิต ระบบการพัฒนา และการอนุรักษ์อย่างสมดุลยั่งยืน

                              รัฐควรมีการก าหนดนโยบายในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่าง
                       สมดุลยั่งยืน โดยไม่สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การเกษตรอย่างยั่งยืน

                              ตัวอย่างเช่น ปัญหาการท าสวนยางในภาคใต้ ราคายางพาราตกต ่า การส่งเสริมระบบการ

                       ผลิต รบบการพัฒนา และการอนุรักษ์ที่เหมาะสม การท าให้สวนยางไม่ได้มีแค่ยาง เป็นค าตอบที่ดี
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108