Page 107 - kpi20680
P. 107

83







                       ของชุมชน และมีความรู้สึกเป็นเจ้าของชุมชนร่วมกัน(เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศ กดิ์, 2544)  และกติกา
                       ในการจัดการทรัพยากรของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นกติการะดับปฏิบัติการ กติการะดับท้องถิ่น และ

                       กติการะดับสูงสุดคือรัฐธรรมนูญ

                              ประเด็นการจัดกรทรัพยากรธรรมชาติของภาครัฐและชุมชนของไทยตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่ง
                       ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540  ได้มอบสิทธิแก่ประชาชนให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการ

                       บ ารุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน และ

                       ก าหนดหน้าที่ให้แก่รัฐที่ต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน
                       บ ารุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุล ตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ต่อมา

                       ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550  ก็ยังคงหลักการในการรับรองสิทธิให้แก่

                       บุคคลในการรวมกันเป็นชุมชน เพื่อการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ การบ ารุงรักษา และการใช้
                       ประโยชน์จากทรัพยากรชาติสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และรัฐธรรมนูญยังก าหนดให้องค์กรปกครอง

                       ส่วนท้องถิ่นมีอ านาจหน้าที่ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ต่อมารัฐธรรมนูญแห่ง

                       ราชอาณาจักรไทย พุทธสักราช 2560  ซึ่งใช้ในปัจจุบัน ได้ก าหนดสิทธิให้แก่บุคคลในการจัดการ

                       บ ารุง รักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ
                       อย่างสมดุลและยั่งยืน และการก าหนดหน้าที่ให้แก่รัฐต้องอนุรักษ์ คุ้มครอง บ ารุงรักษา ฟื้ นฟู

                       บริหารจัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และความ

                       หลากหลายทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนและชุมชนใน

                       ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมด าเนินการและได้รับประโยชน์จากการด าเนินการดังกล่าวด้วยตามที่
                       กฎหมายบัญญัติ ดังนั้น การด าเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สามารถออกข้อบัญญัติ

                       ท้องถิ่นได้ จึงถือเป็นกลไกภาคประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติตามที่รัฐมีหน้าที่ หน้าที่

                       รัฐในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
                       สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 พบว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายบทกฎหมายที่ก าหนดให้เฉพาะ

                       หน่วยงานภาครัฐเข้าไปท าหน้าที่ในการก ากับดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยที่

                       ไม่มีบทบัญญัติใด ๆ ที่เปิดช่องเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่มีทรัพยากรธรรมชาติ
                       นั้นสามารถเข้าไปร่วมในการบริหารจัดการดูแลได้ ในส่วนกฎหมายเกี่ยวกับการก ากับดูแลการ

                       จัดการทรัพยากรธรรมชาติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484  (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 8)

                       พ.ศ.2562  พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507
                       ซึ่งกฎหมายดังกล่าวจึงอาจเกิดปัญหาการประกาศจากหน่วยงานของรัฐเพื่อการอนุรักษ์ กฎหมายได้

                       ก าหนดให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นเกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรธรรมชาติ กฎหมายฉบับนี้ได้

                       ก าหนดให้หน่วยงานส่วนท้องถิ่นมีอ านาจหน้าที่ในการจัดการ บ ารุงรักษาและการใช้ประโยชน์จาก
   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112