Page 112 - kpi20680
P. 112
88
ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ซึ่งการใช้อ านาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องมีกฎหมาย
รองรับในระดับท้องถิ่น
อ านาจในการจัดการศึกษา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ก าหนดไว้ในกฎหมายซึ่งเป็น
กฎหมายหลักและยังมีกฎหมายอีกหลายฉบับในการจัดการทรัพยากรขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นก าหนดไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 โดย
กฎหมายได้ก าหนดอ านาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กรที่มีอ านาจหน้าที่ตามหลักการ
กระจายอ านาจการปกครอง ซึ่งการด าเนินการตามอ านาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จะต้องมีกฎหมายระดับท้องถิ่นรองรับ ซึ่งองค์กรปกครองท้องถิ่นก็ได้มีการจัดท ากฎหมายรองรับ
การจัดการ การบ ารุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
อีกทั้งกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรนั้นมีลักษณะที่เป็นกฎหมาย
เฉพาะแต่ละเรื่อง แต่ละฉบับ โดยที่ไม่มีกฎหมายใดที่แสดงถึงความเชื่อมโยงทั้ง ๆ ปัญหาทรัพยากร
นั้น เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบในเรื่องเดียวกัน คือท าให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและการ
จัดการศึกษาที่อาจไม่มีคุณภาพท าให้ท้องถิ่นเกิดความไม่น่าอยู่ เป็นผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตที่ดี
ของคนในท้องถิ่น ท าให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายกลไกที่เกิดขึ้นท้องถิ่นต้องให้ประชาชน
เข้ามามีส่วนร่วมในทุกระดับให้การขับเคลื่อนของท้องถิ่นเกิดขึ้นโดยประชาชนอย่างแท้จริง โดย
การจัดการร่วม กรณีการจัดการน ้าภาคประชาชนมีส่วนร่วม มีกลไก มีการจัดตั้งคณะกรรมการเน้น
ระบบการจัดการลุ่มน ้าย่อย ลุ่มน ้าสาขา มียุทธศาสตร์ร่วมที่เชื่อมตั้งแต่ลุ่มน ้าสาขาขึ้นไปสู่ลุ่มน ้า
ใหญ่ โดยเน้นระบบการพึ่งพาตัวเอง ให้พึ่งพาท้องถิ่นได้ทิศทางการพัฒนาแบบบูรณาการ ทั้งการ
จัดการเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร พื้นที่คน ทรัพยากร การกระจายอ านาจ มีการจัดท า
ฐานข้อมูลทรัพยากรลุ่มน ้าร่วมกับประชาชนเพื่อวางแผนการจัดการลุ่มน ้า เน้นการจัดสรรอ านาจใน
การจัดการน ้าอย่างเพียงพอ ทั้งการเกษตร บริโภค การท่องเที่ยว เพื่อน ามาสู่การพัฒนาแผนการ
จัดการน ้าในระดับพื้นที่ลุ่มน ้า การจัดการป่าไม้ทั้งในเขตป่าสงวนและคุ้มครองแยกประชาชนที่อยู่
อยู่ก่อนประกาศเขตสงวนและคุ้มครอง และบริเวณเขตที่เชื่อมต่อกับเขตขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นโดยการให้ท้องถิ่นสร้างแนวร่วมในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติประเภทป่าไม้เพื่อ
ป้องกันการบุกรุก และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ได้ด้วยข้อบัญญัติ
ท้องถิ่น
หลักการส าคัญเพื่อสร้างกลไกให้ประชาชน ชุมชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดการศึกษา ให้ชุมชนท้องถิ่นร่วมกันจัดท าข้อบัญญัติท้องถิ่นว่าด้วย
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ภูมิ
ปัญหาท้องถิ่น การศึกษาที่ไม่ขัดแย้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และตั้งอยู่บนวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่นซึ่งจะ