Page 115 - kpi20680
P. 115
91
การจัดการทรัพยากรนั้น ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่จะให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีบทบาทในการจัดการ
เพราะมีความส าคัญต่อการด ารงอยู่ของสังคม การจัดการลุ่มน ้ายังมีแนวคิดและหลักการที่ส าคัญที่
จะส่งเสริมให้การจัดการลุ่มน ้านั้นมีความเหมาะสม
ข้อค้นพบการวิจัยในการจัดการศึกษาและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ระบบ
ความสัมพันธ์และการพึ่งพา ความสัมพันธ์ประชาชนกับการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างประชาน
กับทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการจะต้องมีความครอบคลุมการมองปัญหาและแก้ปัญหาอย่างเป็น
องค์รวม ควรร่วมมือระหว่างประชาชนโดยสร้างเวทีการเรียนรู้ของประชาชนหรือชุมชนเดียวกัน มี
การสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยน การฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรพร้อมไปกับการสร้าง
ความเข้มแข็งแก่ชุมชนเพื่อการด ารงชีพ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
และทรัพยากรธรรมชาติ
การกระจายอ านาจ การบริหารนับเป็นสิ่งที่คุกคามต่อการอยู่รวดของสังคมหรือองค์การ
เนื่องจากรัฐฝ่ายเดียวไม่สามารถตอบต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีลักษณะของ
ความหลากหลายสูงและไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมประชาธิปไตย การเปิดโอกาสให้ประชาชน
ได้มีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากร หรือสิ่งมีคุณค่าในสังคมก็นับเป็นพื้นฐานของระบบการเมือง
การปกครองแบบประชาธิปไตย
ข้อค้นพบจากการวิจัยพบว่า มาตรการจัดการที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเพียง
พอที่จะแก้ไขระบบการศึกษาและทรัพยากรให้ท้องถิ่นเกิดปัญหากับเด็กและเยาวชนที่จะอยู่รอดใน
สังคม และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรจนเป็นท้องถิ่นที่น่าอยู่ ทั้งนี้เนื่องจากยังขาดมาตรการที่
เหมาะสมในการจัดการ ได้แก่ มาตรการการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วยการก าหนดให้ประชาชน
เข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังเพราะเมื่อประชาชนร่วมคิดและเสนอแนะการบริหารให้กับภาครัฐไป
แล้ว ภาครัฐในปัจจุบันไม่ได้ด าเนินการต่อเพราะตัวแทนของประชาชนเหล่านั้นไม่มีฐานอ านาจตาม
กฎหมาย ที่ยังขาดมาตรการในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการใช้ประโยชน์ทรัพยากร
อย่างอื่นที่เหมาะสม ก็มิได้มีมาตรการที่ก าหนดให้ประชาชนที่เป็นผู้ประกอบการได้เข้ามามีส่วน
ร่วมในการจัดการแต่อย่างใด
จากการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา พบว่าประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับต ่า ทัศนคติทางสังคม ค่านิยม วัฒนธรรมองค์กรรัฐต่อการมีส่วนร่วมยังมี
ความรู้ความเข้าใจ ที่แตกต่างกันขาดกลไกขับเคลื่อนกระบวนการมีส่วนร่วมในการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นการปฏิรูปกลไกและการมี
ส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควรก าหนดให้มีการปฏิรูปทางความคิด