Page 102 - kpi20680
P. 102
78
กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
จะสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายได้อย่างมีคุณภาพ ต้องค านึงถึงปัจจัยส าคัญที่จะหนุน
เสริมกระบวนการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลไกทั้ง 7 กลไก ประกอบด้วย
(1) กลไกกลุ่ม เครือข่าย คณะกรรมการ และสภาพลเมือง ประชาชน
กลุ่มชุมชน เครือข่าย คณะกรรมการ สมัชชาและสภาพลเมือง เป็นหน่วยในการท าหน้าที่
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหน่วยที่ต้องได้รับการรับรองสิทธิ บทบาทหน้าที่
ในการ เข้าถึงกระบวนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเป็นหน่วยที่ต้องได้รับ
การพัฒนาให้มีความเข้มแข็ง พร้อมที่จะท าหน้าที่ในการมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งใน 5
กระบวนการ
ตัวอย่างเช่น
เครือข่ายสิ่งแวดล้อมครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาลุ่มน ้ารัตภูมีมีการด าเนินกิจกรรมมาตั้งแต่
ปี พ.ศ.2547 ซึ่งมีการขับเคลื่อนงาน โดยกองประสานงานกลางงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นลุ่มน ้าภาคใต้
ร่วมกับส านักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 ในการเสริมสร้างจิตส านึกของชุมชนในการเฝ้าระวัง
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ต้นน ้า ภายใต้ชื่อโครงการเสริมศักยภาพองค์กรชุมชน
และเครือข่ายพื้นที่ป่าต้นน ้า ซึ่งด าเนินการในพื้นที่สามต าบล คือ ต าบลเขาพระ ต าบลท่าชะมวง
ต าบลก าแพงเพชร ในพื้นที่อ าเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา ผลที่ได้จากการด าเนินกิจกรรมในช่วงนั้นคือ
เกิดคณะท างานเครือข่ายอนุรักษ์ป่าต้นน ้าคลองรัตภูมิ เกิดแผนปฏิบัติการในการท างานต่อไปและ
หลังจากนั้นในปี พ.ศ.2549 ได้ขับเคลื่อนงานภายใต้โครงการเสริมพลังชุมชนเพื่อการฟื้นฟูและ
พัฒนาลุ่มน ้าทะเลสาบสงขลา ซึ่งด าเนินการต่อยอดจากโครงการเสริมศักยภาพองค์กรชุมชนและ
เครือข่ายฯ ด าเนินกิจกรรมด้านการฟื้นฟูและเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การ
ขยับในเรื่องการปลูกพืชร่วมยาง การรักษาป่าต้นน ้า และในปี พ.ศ. 2550 ได้ร่วมกับเครือข่าย
เกษตรกรรมทางเลือกภาคใต้และเครือข่ายศึกษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและท่องเที่ยวเชิงนิเวศลุ่ม
น ้าภูมี ด าเนินกิจกรรมกองทุนป่าต้นน ้า โดยใช้กิจกรรมเฝ้าระวังการใช้สารเคมีในพื้นที่คลองรัตภูมิ
โดยมีภาคีเครือข่ายร่วมสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็ง ให้กับเครือข่าย
(2) กลไกแผนงาน และยุทธศาสตร์เชิงบูรณาการ
แผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือของชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง
ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งควรมีลักษณะเป็นแผนบูรณาการทุกด้าน ทุก
มิติที่เกี่ยวข้อง เช่น ความเชื่อมโยงของแผนการอนุรักษ์กับแผนการพัฒนาด้านการเกษตร แผนการ
พัฒนา โครงสร้าง เขื่อน อ่างเก็บน ้า ถนน ฯลฯ กับแผนการอนุรักษ์ ซึ่งในความเป็นจริงในพื้นที่หนึ่ง
พื้นที่ใดหรือ ในระบบภูมินิเวศใด ๆ ต่างมีแผนงานโครงการเพื่อการพัฒนาทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม