Page 84 - kpi20680
P. 84
60
เช่น ที่ดินสาธารณประโยชน์ ที่ราชพัสุด ที่สงวนหวงห้าม และที่ดินของรัฐที่สงวนไว้เพื่อรักษา
ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ถาวร ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า การ
ก าหนดเขตที่ดินของรัฐดังกล่าว ได้สร้างปัญหาความขัดแย้งและข้อพิพาทเกี่ยว กับที่ดินระหว่าง
ราษฎรกับหน่วยรัฐสืบเนื่องเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันโดยสาเหตุของปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความไม่
ชัดเจนของแนวเขตที่ดินที่สงวนหวงห้าม รวมทั้งมิได้กันที่ดินท ากินและที่อยู่อาศัยของชุมชนออก
จากเขตที่ดินสงวนหวงห้ามเหล่านั้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ปัญหาการขาดแคลนพื้นที่ท ากิน
ประกอบกับการขยายตัวของชุมชน การ ส่งเสริมพืชเศรษฐกิจ และปัญหาที่ดินกระจุกตัว เกษตรกร
จ านวนมากไม่สามารถเข้าถึงที่ดิน ท าให้เกิดการ เข้าไปท ากินในที่ดินของรัฐ โดยเฉพาะที่ดินป่าไม้
เป็นจ านวนมาก
วิเคราะห์นโยบายและการ บริหารจัดการที่ดิน นโยบายและการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ
ที่ผ่านมา แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ การบริหารจัดการ ที่ดินด้วยกลไกตลาด ในที่ดินที่เป็นเอกสาร
สิทธิ์ที่ดิน และการบริหารจัดการที่ดินของรัฐประเภทต่างๆ
การบริหารจัดการที่ดินด้วยกลไกตลาด
การบริหารจัดการโดยใช้กลไกตลาดที่ราคาที่ดินถูกก าหนดด้วยอุปสงค์-อุปทานของตลาด
ที่ดิน ในพื้นที่ที่มีการพัฒนาหรือมีระบบโครงสร้างพื้น ฐานแล้วที่ดินจะมีราคาที่สูงขึ้น หมายถึง การ
เปิด โอกาสให้ที่ดินเข้าสู่ระบบกลไกตลาด ทั้งการปั่นขึ้นของราคาที่ดินหรือการซื้อขายที่ดิน
สามารถท าได้ อย่างเต็มที่ไม่มีขีดจ ากัด แม้ว่ารัฐจะด าเนินการท าให้มีราคาประเมินที่ดิน แต่กลับ
พบว่าราคาการซื้อขายที่ดินมีราคาต่างกว่าราคาประเมินอย่างน้อย 2 ถึง 3 เท่า ซึ่งราคาประเมินไม่
เป็นจริงในปัจจุบัน แต่เป็นการตั้งไว้เพื่อการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจาก การโอนการท านิติกรรม
หากย้อนหลังไปเมื่อครั้งมีการประกาศ ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ในปี 2497 ได้ระบุถึง การจ ากัด
การถือครองที่ดินเอาไว้แต่ต่อมาได้ถูก ยกเลิกไปเมื่อปี 2502 โดยค าสั่งคณะปฏิวัติ และ กลายเป็น
ปัญหาการกระจุกตัวที่ดินในปัจจุบัน ท าให้ประเทศไทยไม่มีการจ ากัดการถือครองที่ดินนับตั้งแต่
นั้นเป็นต้นมา นอกจากนั้น ประมวลกฎหมายที่ดิน ในปี 2497 (มาตรา 6) ยังได้ระบุเอาไว้ว่า ระบบ
กรรมสิทธิ์ รัฐไม่ได้ให้สิทธิ์โดยเด็ดขาด ที่ดินยังเป็นของรัฐในมาตรานี้ระบุว่า “ถ้าเป็นผู้ที่ ได้สิทธิ์
ในที่ดินไปแล้วแต่ไม่ท าประโยชน์ในที่ดินถ้า เป็น นส.3 นานติดต่อกันเกิน 5 ป ี ส่วนกรณีโฉนด 10
ปี ให้ถือว่าผู้นั้นไม่มีเจตนาใช้ประโยชน์ ให้รัฐเพิก ถอนเอกสารสิทธิ์ในที่ดินนั้น แล้วน ามาจัดสรร
ให้ผู้ที่ ต้องการใช้ประโยชน์ต่อไป” แต่ว่าในความเป็นจริง กลับพบว่าที่ดินส่วนใหญ่มีการปล่อยทิ้ง
ร้างเกิน 5 ป ี เกิน 10 ปี แต่รัฐกลับไม่มีกระบวนการในการจัดการ เพิกถอนเอกสารสิทธิ์เกิดขึ้น
นอกจากนั้น ในเรื่อง ระบบภาษีที่ดิน ที่ผ่านมารัฐไม่เคยมีการเก็บภาษี ที่ดิน ทั้งนี้ ระบบภาษีที่ใช้ใน