Page 79 - kpi20680
P. 79

55







                       เพื่อจ าแนกแยกแยะที่ดินกับพื้นที่ป่าด้วยตนเองในรูปของสภาองค์กรชุมชน โดยไม่จ าเป็นต้องรอ
                       การสั่งการจากภาครัฐเพียง อย่างเดียวเท่านั้น

                              ภาคประชาชนร่วมกับสถาบันวิชาการทางด้านกฎหมาย สนับสนุนให้เกิดการจัดท าแผน

                       ระเบียบ  กฎกติกาในการบริหารจัดการที่ดิน- ป่าไม้ หรือจัดท าข้อบัญญัติท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับ
                       หลัก  สิทธิชุมชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปัจจุบันมีข้อบัญญัติท้องถิ่นในภาคเหนือ มากกว่า 30

                       แห่ง ที่ได้ประกาศบังคับใช้ไปแล้ว

                                ภาคประชาชน ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการเสนอโมเดลในการแก้ไขปัญหาอย่าง
                       ยั่งยืน เช่น แม่แจ่มโมเดลเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมและยังยืนให้เกิดขึ้น ข้ามพ้นข้อจ ากัด

                       ของนโยบายและกฏหมายในปัจจุบัน  (วราลักษณ์ ไชยทัพ  :2560)   ภาคประชาชนได้ส่งเสริมให้มี

                       การปลูกไม้ยืนต้นจ านวนมากในพื้นที่เกษตรทั้งที่มีเอกสารสิทธิและ ยังไม่มีเอกสารสิทธิ แม้ยังไม่มี
                       ความชัดเจนในเรื่องระเบียบกฎหมาย สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่ม  ในแบบธนาคารต้นไม้จ านวน

                       มากขึ้น ภาคประชาชนได้ยกระดับ สาระในการจัดการป่าของตนเองให้เชื่อมโยงกับข้อตกลงระดับ

                       สากล  เช่น การจัดการป่าชุมชน การปลูกป่ากับเรื่องการกักเก็บคาร์บอน การเชื่อมโยงโจทย์การค้า

                       ไม้  ที่มีหลักฐานตรวจสอบย้อนกลับ (FLEGT)  กับสหภาพยุโรป ยกระดับการบริหารจัดการความ
                       หลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าและพื้นที่เกษตรให้ตอบสนองต่อความยั่งยืนของระบบนิเวศ และ

                       การสร้างรายได้


                              เป้าหมายองค์กรชุมชน-เครือข่ายประชาชน มีการรวมตัวและเชื่อมโยงสร้างเครือข่ายใน

                       ระดับภาคให้เข้ม  แข็งเป็นขบวนการที่มีเอกภาพ มีพลังมากขึ้น สามารถรวมกลุ่มในระดับพื้นที่

                       อ าเภอ จังหวัด  ได้อย่างมีเอกภาพ สร้างรูปธรรมการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง สามารถปรับ

                       ประยุกต์ระเบียบ  กฎหมายที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งรวมกลุ่มผลักดันให้มีนโยบายและ
                       กฎหมายที่ก้าวหน้า มากขึ้น

                              มีกลไกภาคประชาสังคม ภาคพลเมืองด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในระดับ

                       ภาค  และระดับชาติมีความสามารถในการท างานร่วมกับองค์กรชุมชน องค์กรประชาชน สามารถ
                       ในการน าการเปลี่ยนแปลงที่ส าคัญต่อประเทศให้เกิดขึ้น

                              ทิศทางข้อเสนอของภาคประชาชนตอบสนองประโยชน์ของส่วนรวมได้อย่างชัดเจน ทั้ง

                       ด้าน เป้าหมายของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความยั่งยืนทางนิเวศ เศรษฐกิจ ประโยชน์ สุข
                       ร่วมกันของสังคมอย่างยั่งยืนและเป็นธรรมของสังคมไปพร้อมกันโดย   สร้างรูปแบบการเพิ่มพื้นที่

                       ป่า พื้นที่สีเขียวในรูปแบบที่เหมาะสม ทั้งในเขตป่า เศรษฐกิจและป่าอนุรักษ์ ชุมชนที่ปลูกป่าต้องได้

                       ประโยชน์จากป่า (สร้างเศรษฐกิจชุมชน  จากการปลูกป่า)  สร้างสังคมไทยให้มีไม้ใช้สอยอย่าง
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84