Page 77 - kpi20680
P. 77
53
วัฒนธรรมชุมชนท้องถิ่น ระบบนิเวศที่เหมาะสมและเน้นความหลากหลายในแต่ละพื้นที่ลุ่มน ้าของ
ประเทศ
(3) ต้องมีนโยบายและกฎหมายคุ้มครองพื้นที่ลุ่มน ้า พื้นที่ชุ่มน ้า เช่น ป่าบุ่งป่าทาม บึง
หนอง แม่น ้าและล าห้วย และทางระบายน ้าหลากที่เป็นพื้นที่เชื่อมต่อส าคัญในโครงข่ายระบบนิเวศ
ลุ่มน ้า ไม่ให้ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพจากการพัฒนาแหล่งน ้า การสร้างเขื่อน ประตูน ้า คันดิน และ
ป้องกันไม่ให้มีการบุกรุกท าลาย และยึดพื้นที่เพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล โดยปล่อยให้พื้นที่เหล่านี้ได้
ท าหน้าที่ทางระบบนิเวศให้ดีที่สุดและมีมาตรการตามกฎหมายที่เอื้อต่อการจัดการอย่างเป็น
รูปธรรม และมีผลต่อการปฏิบัติ เช่น ประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม เป็นเขตอนุรักษ์ตาม
กฎหมาย รวมถึงส่งเสริมการจัดการโดยชุมชนท้องถิ่นที่มีเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้
ประโยชน์อย่างยั่งยืน เพื่อด ารงรักษาไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศและการอนุรักษ์ความ
หลากหลายทางชีวภาพ
(4) จัดท านโยบายในการส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาองค์กรชุมชน เพื่อการ
ส่งเสริมศักยภาพในการวางแผนการจัดการน ้าในระดับท้องถิ่นที่สอดคล้องกับความต้องการของ
ประชาชนที่แท้จริงและไม่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและวิถีชีวิตของชุมชน
4.2.2 การจัดการทรัพยากรป่ าไม้
ประเทศไทยมีพื้นที่ทั้งหมด 320.7 ล้านไร่สถานการณ์ที่ผ่านมาพบว่าพื้นที่ป่าของประเทศ
ไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ดังจะเห็นจากพื้นที่ป่ าไม้ที่ลดลงจากจ านวน 171.01 ล้านไร่ (53.33
เปอร์เซ็นต์) ในปี 2504 ลดเหลือ 107.61 ล้านไร่ (33.44) ในปี 2551 ปัจจุบันมีป่าไม้เหลือเพียง 102.2
ล้านไร่ (31.57 เปอร์เซ็นต์) (รายงานคณะกรรมาธิการปฏิรูปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
,2558) สภาปฏิรูปแห่งชาติ ของพื้นที่ประเทศการลดลงของพื้นที่ป่าอย่างต่อเนื่อง ท าให้สภาพป่า
เสื่อมโทรมระบบนิเวศเสียสมดุล สภาพภูมิเปลี่ยนแปลง เกิดปัญหาภัยแล้งปัญหาไฟป่า น ้าท่วมอย่าง
รุนแรง อีกทั้งยังพบว่าเกิดปัญหาการขาดแคลนไม้ใช้สอย จากที่เคยเป็นประเทศมีไม้มาก สามารถ
ส่งเป็นสินค้าส่งออกได้ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นประทศสูญเสียความสามารถในการผลิตไม้เพื่อใช้
สอยให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ
วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาปัญหาข้อจ ากัดด้านสิทธิ กฎหมาย นโยบายและองค์กรในการ
บริหารจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ จากเดิมที่พบว่าทั้งนโยบาย กฎหมายและหน่วยงานภาครัฐมี
เงื่อนไข ข้อจ ากัดมาก ไม่สามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพได้โดยล าพังหน่วยงาน
รัฐเพียงฝ่ายเดียวแล้ว แม้ว่าที่ผ่านมา รัฐเองจะพยายามแก้ไขปัญหา ด าเนินการจัดท าโครงการ
ทรัพยากรที่ดินและป่าไม้ เพื่อด าเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินและป่าตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30