Page 72 - kpi20680
P. 72

48







                              การบัญญัติด้านการศึกษาไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นความก้าวหน้า และ
                       ท าให้เป็นหลักประกันว่าการด าเนินเพื่อพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศไทยได้รับความเอาใจใส่

                       จากภาครัฐแน่นอน  และการบัญญัติให้เป็นหน้าที่รัฐในการที่ต้องเข้ามาดูแลการศึกษาให้มีคุณภาพ

                       ทั้งระบบโดย เปิดโอกาสให้หน่วยงานท้องถิ่น และภาคเอกชนเข้ามาร่วมจัดการศึกษาจะท าให้การ
                       จัดการศึกษาของประเทศมีความครอบคลุมสาขาวิชาที่ขาดแคลน  ประหยัดงบประมาณ  และมี

                       ประสิทธิภาพมากกว่ารัฐบาลฝ่ายเดียวเป็นผู้ด าเนินการและที่ส าคัญเมื่อมีการบัญญัติไว้ใน

                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว  การตราพระราชบัญญัติ  เพื่อก าหนดวิธีการปฏิบัติ  การ
                       ควบคุมตรวจสอบให้เจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ด าเนินตามกฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุตาม

                       วัตถุประสงค์ของกฎหมายก็เป็นสิ่งที่ทุกรัฐบาลควรด าเนิน การกลไกในระหว่างการจัดการศึกษา

                       ภาครัฐกับประชาชน ควรมีการถ่วงดุลอ านาจทางการศึกษา โดยการเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ มี
                       สิทธิ มีอ านาจเป็นผู้ออกแบบและผู้จัดการการศึกษาคู่ขนานไปกับรัฐ ควรก าหนดให้องค์กรที่จะเข้า

                       มาช่วยจัดการศึกษาที่สร้างวัฒนธรรมใหม่ให้กับคนไทย ประกอบไปด้วย 1) องค์กรปกครองส่วน

                       ท้องถิ่น 2) ครอบครัว 3) ประชาสังคม 4) สถาบันศาสนา และ 5) สถานประกอบการเอกชนด้าน

                       การศึกษา การให้สิทธิกับภาคส่วนเหล่านี้เพราะเขาจะสามารถสร้างการศึกษาเชิงวิพากษ์ การศึกษา
                       เชิงมนุษย์  การให้สิทธิอันนี้เพราะเราค านึงว่า  คุณภาพการศึกษาเป็นไปไม่ได้เลยว่าจะท าได้โดยรัฐ

                       ตามล าพัง เรื่องนี้ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย แต่เป็นทั่วโลก

                              การปฏิรูปการศึกษามุ่งหวังให้เกิดการกระจายอ านาจจากส่วนกลางไปยังท้องถิ่น ส่งผลให้

                       กระทรวงศึกษาธิการ หน่วยงานหลักที่มีภารกิจในด้านการศึกษาขอประเทศต้องปรับตัวเพื่อกระจาย
                       อ านาจการบริหาร ตั้งแต่น ามาสู่การตราพระราชบัญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 งบประมาณและ

                       ทิศทางในการจัดการศึกษายังถูกก าหนดจากส่วนกลาง เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กร

                       ปกครองส่วนท้องถิ่นยังคงด าเนินงนในรูปแบบเป็นผู้รับและด าเนินงานเพื่อนโยบาย คุณภาพการจัด
                       การศึกษาในแต่ละพื้นที่จึงไม่ได้มาตรฐาน เด็กนักเรียนได้รับโอกาสไม่เท่าเทียมกันหรือด้อยโอกาส

                       ในการศึกษา ในระดับปัจเจก คือตัวเด็กเองยังไม่เกิดทักษะการรู้คิด มีทักษะชีวิตและจิตส านึกที่ดีทั้ง

                       ตนเองและสังคมแวดล้อม ส่งผลให้เด็กและเยาวชนไทยมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือพฤติกรรมไม่พึง
                       ประสงค์ตั้งแต่วัยเยาว์ ระดับสังคมแวดล้อม คือ ครอบครัวไทยเกิดสภาวะล้มเหลวทางความคิดและ

                       ทัศนคติในการพัฒนาเด็กและเยาวชน ครอบครัวเน้นเรื่องการท ามาหากินเพื่อเลี้ยงชีวิตจนลืม

                       บทบาทความเป็นพ่อแม่ ครอบครัวที่ครอบง าความคิดเด็ก การศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนถูก
                       พัฒนาให้เป็นแบบส าเร็จรูปเหมือนกันทั้งประเทศ และระบบโครงสร้างของชุมชน ไม่มีกลไกดูแล

                       คุ้มครองเด็กที่เป็นการท างานเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบเป็นวงจร เช่นการพัฒนาแก่นน าเยาวชน

                       เครือข่ายยังขาดทิศทางการจัดการอย่างมีส่วนร่วม
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77