Page 71 - kpi20680
P. 71

47







                       ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ ส่งผล ให้การพัฒนาการศึกษาของชาติไม่ประสบผลส าเร็จตามที่ควรจะ
                       เป็นจึงควรมีผู้รับผิดชอบหลักและต้องมีคนเริ่มต้น  โดยต้องเป็นการคิดแบบทลายก าแพง  ไม่มีแท่ง

                       ไม่มีกระทรวง  ไม่มีสังกัด  แต่คิดถึงเป้าหมาย  การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเด็กให้มีคุณลักษณะที่พึง

                       ประสงค์  ซึ่งทุกคนต้องร่วมกันใช้ประสบการณ์และความรู้  เพื่อหาวิธีการและกระบวนการในจัด
                       การศึกษาที่มีคุณภาพ  ก่อนที่จะพิจารณาหน้าที่ความรับผิดชอบในการด าเนินงานของหน่วยงานแต่

                       ละแห่ง โดยต้องมีการประสานและเชื่อมโยงการด าเนินงานเพราะการเชื่อมโยง เป็นหัวใจส าคัญของ

                       การวางแผนการด าเนินงานร่วมกันของประเทศ  อย่างไรก็ตาม  มีความเห็นว่าองค์กรที่มี  ความ
                       เชี่ยวชาญแต่ละด้านอาจมีความจ าเป็นต้องมีอยู่ แต่ต้องท าตามกลไกที่สร้างขึ้นและปฏิบัติตามอ านาจ

                       หน้าที่ที่ก าหนดไว้ให้ชัดเจน  จึงจะสามารถจัดการศึกษาเพื่อมุ่งเป้าหมายสู่การพัฒนาเด็กให้มี

                       คุณภาพได้อย่างสมบูรณ์
                              การบัญญัติรับรองด้านการศึกษาไว้ในรัฐธรรมนูญมีความครอบคลุมค่อนข้างดีอยู่แล้ว

                       นอกจากนี้ยังได้มีการตรากฎหมายระดับรอง  ระดับพระราชบัญญัติซึ่งเข้าใจบริบท  การศึกษาของ

                       สังคมไทยได้อย่างดียิ่งคือ  การตรากฎหมายการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษา

                       แห่งชาติ  พ.ศ.  2542  พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  (ฉบับที่  2)  พ.ศ.  2545  พระราชบัญญัติ
                       การศึกษา แห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 และพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.

                       2562 ที่ให้ผู้ได้รับความรู้ได้ศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย  โดยการศึกษานั้น  มีเนื้อหาใน  3

                       รูปแบบการศึกษา คือ

                              (1) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาตามหลักสูตรที่มีการก าหนดองค์ความรู้ วิธีการศึกษา
                       ระยะเวลา และจุดมุ่งหมายที่แน่นอน อีกทั้งมีการวัดผลและประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้

                       ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างเต็มที่

                              (2)  การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นขององค์ความรู้ วิธีการศึกษา
                       ระยะเวลา รูปแบบวิธีจัดการศึกษา ตลอดจนการวัดผลประเมินผล เพื่อให้ผู้เรียนกลุ่มที่มีความจ าเป็น

                       ที่ไม่สามารถเข้า ศึกษาในระบบได้ โดยรัฐบาลจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน และศูนย์การเรียนรู้นอก

                       ระบบขึ้น เพื่อเอื้ออ านวย ความสะดวกแก่ผู้ที่ไม่สามารถศึกษาในระบบได้ ส่วนหลักสูตรและเนื้อหา
                       นั้น ก็มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับความต้องการและสภาพปัญหาของผู้เรียน

                              (3)  การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ก าหนดให้ผู้เรียนนั้นสามารถศึกษาเล่าเรียนได้

                       ด้วยตนเอง ตามความพร้อม ความสนใจ โอกาส และศักยภาพของแต่ละบุคคล โดยสื่อในการศึกษา
                       นั้นจะไม่จ ากัดเฉพาะ  การเรียนรู้หรือตัวบุคคลอย่างเดียว  แต่ยังสามารถศึกษาหาความรู้ได้จากทั้ง

                       ประสบการณ์ สังคม สิ่งแวดล้อม และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76