Page 66 - kpi20680
P. 66
42
ด าเนินการศึกษาและจัดท าข้อเสนอแนะและร่างกฎหมายให้แล้วเสร็จ และเสนอต่อ คณะรัฐมนตรี
ภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
เจตนารมณ์การบัญญัติด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2560 (มีชัย ฤชุพันธ์, 2560) เพื่อให้เข้าใจถึงเจตนารมณ์ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญของ
บทบัญญัติด้านการศึกษาตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ผู้ศึกษาจึงน า
ค าอธิบายของนายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธาน คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ได้อธิบายเจตนารมณ์ไว้
อย่างละเอียด พร้อมยกตัวอย่างประกอบอย่างชัดเจน ในการสัมมนาของสภาการศึกษา ที่ชื่อว่า
“สภาการศึกษาเสวนา (OEC Forum)” ครั้งที่ 15 เรื่อง “รัฐธรรมนูญกับทิศทางการปฏิรูปการศึกษา”
แก่ผู้เข้าร่วมเสวนาซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากองค์กรหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจ านวน
ประมาณ 50 หน่วยงาน รวมทั้งคณะกรรมาธิการการศึกษาและการกีฬา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(สนช.) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อ วันจันทร์ที่ 30 มกราคม 2560 ณ ห้องประชุมก าแหง พลางกูร อาคาร 56 ปี
ส านักงานเลขาธิการสภาการศึกษาซึ่งขณะนั้นรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวยังมีสถานะเป็นร่าง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. .... ซึ่งผู้ศึกษาน ามาสรุปได้ ดังนี้
มาตรา 54 วรรคหนึ่ง “รัฐต้องด าเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี
ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย”
นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ อธิบายว่า คณะกรรมการร่าง
รัฐธรรมนูญ มีแนวคิดในเบื้องต้นว่า เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ
แล้ว ผู้เรียนจะสามารถ ออกไปประกอบอาชีพได้ และในระหว่างเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1, 2 และ
3 ควรมีวิชาเลือกอื่นที่ไม่ใช่สาขา เชิงเทคโนโลยีมากจนเกินไป เช่น การถ่ายรูป การเย็บปักถักร้อย
การวาดรูป ช่างไม้ ฯลฯ ให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติ และทดลองท าเพื่อให้รู้ความถนัดและความชอบของ
ตนเอง และกระตุ้นให้เลือกตัดสินใจศึกษาต่อสายอาชีพ เป็นการตัดสินใจของผู้เรียนที่จะพัฒนา
ความสามารถให้เชี่ยวชาญและประสบความส าเร็จในการประกอบ อาชีพตามที่เลือก โดยรัฐบาลให้
ศึกษาต่อโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี
ส่วนผู้ที่จะศึกษาต่อเพื่อเป้าหมายเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษา เบื้องต้นมีแนวคิดว่าควรเป็น
ผู้ที่มีระดับสติปัญญาเพียงพอที่จะศึกษาต่อได้และมีความชอบ หากฐานะทางเศรษฐกิจไม่พร้อม รัฐ
ควรสนับสนุนค่าใช้จ่ายแต่หากมีฐานะทางเศรษฐกิจดี พ่อแม่ผู้ปกครองควรลงทุนเพื่อการศึกษา แต่
ภายหลังมีเสียงเรียกร้องว่าจะท าให้การศึกษาไม่ต่อเนื่อง จึงได้มีการประกาศนโยบายให้เรียนฟรีโดย
ไม่เสียค่าใช้จ่ายจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งท าให้เกิดปัญหาตามมาว่าพ่อแม่ผู้ปกครองพยายาม
ให้บุตรหลานเรียนจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา และส่วนใหญ่
จะสมัครเข้าศึกษาต่อในสาขาตามความชอบของพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือเลือกเรียนในสาขาวิชาที่ง่าย