Page 67 - kpi20680
P. 67
43
และไม่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ท าให้เกิดปัญหาว่างงานตามมา ทั้งนี้ การสนับสนุน
ค่าใช้จ่ายของรัฐ มีแนวคิดว่าไม่จ าเป็นต้องจัดสรรงบประมาณผ่านคลัง สามารถจัดสรรงบประมาณ
กระจายไปยังโรงเรียนได้โดยตรง เพื่อให้โรงเรียนสามารถน าเงินมาบริหารจัดการได้อย่างคล่องตัว
โดยไม่ต้องรอรับการจัดสรรงบประมาณผ่านคลัง
มาตรา 54 วรรคสอง “รัฐต้องด าเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับ
การศึกษา ตามวรรคหนึ่ง เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย
โดยส่งเสริมและ สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการ
ด าเนินการด้วย”
มาตรา 258 จ. ด้านการศึกษา “(1) ให้สามารถเริ่มด าเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและ
พัฒนา ก่อนเข้ารับการศึกษาตามมาตรา 54 วรรคสอง เพื่อให้เด็กเล็กได้รับการพัฒนาร่างกาย จิตใจ
วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัยโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ๆ”
นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ อธิบายว่า การจัดการศึกษาต้องเน้นการ
ฝึกอบรมเด็กตั้งแต่จุดเริ่มต้นเพื่อเป็นพื้นฐานที่ส าคัญ เนื่องจากเด็กเกิดมามีความสามารถทาง
สติปัญญาไม่เท่ากัน เด็กบางคนมีสติปัญญาดีโดยธรรมชาติ บางคนมีสติปัญญาปานกลาง และบาง
คนมีสติปัญญาไม่เท่าเทียมคนอื่น เด็กที่มีสติปัญญาดี ไม่ต้องใช้ความพยายามมากก็สามารถประสบ
ความส าเร็จในชีวิตได้ในอนาคต เด็กที่มีสติปัญญาปานกลางก็สามารถพัฒนาได้ แต่การพัฒนาต้อง
เริ่มตั้งแต่ปฐมวัย ซึ่งปัจจุบันเริ่มเป็นที่ยอมรับ ว่าการให้เด็กเรียนรู้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดยการ
เปิดเพลงไว้ที่หน้าท้องของแม่เพื่อให้เด็กที่อยู่ในครรภ์ได้รับฟัง จะท าให้เกิดมาเป็นเด็กที่มีอารมณ์ดี
ไม่มีอารมณ์ฉุนเฉียวง่าย จึงต้องสร้างเด็กให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่พึงจะเป็น คือ เป็นคนดีของ
ชาติและเป็นคนมีวินัย
อย่างไรก็ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ก าหนดให้รัฐต้องด าเนินการให้
ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบ ต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอด
ชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัด
การศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ด าเนินการ ก ากับ ส่งเสริมและ สนับสนุนให้การจัดการศึกษา
ดังกล่าวมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วย การศึกษาแห่งชาติซึ่งอย่างน้อย
ต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดท าแผนการศึกษาแห่งชาติและ การด าเนินการและตรวจสอบการ
ด าเนินการให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติด้วย
ความคาดหวังในการปฏิรูป การศึกษา คือ การสอนเด็กให้มีพื้นฐานเบื้องต้นเพื่อการใฝ่หา
ความรู้ตลอดชีวิต รวมทั้งสอนให้มีวิธีการศึกษาหาความรู้ตามที่ต้องการได้ เพราะปัจจุบันความรู้
สามารถแสวงหาได้ด้วยตนเองอย่างสะดวกรวดเร็วจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคสมัยใหม่