Page 69 - kpi20680
P. 69
45
ที่ตนเองถนัด เมื่อจบออกมาก็เลือกประกอบอาชีพอื่นที่ไม่ได้เรียนมา เช่น พ่อค้า เจ้าของร้านอาหาร
หรือนักร้อง เป็นต้น จึงเป็นการลงทุนทางการศึกษาที่ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า เสียทั้งเงินและเวลา
เพื่อที่จะสร้างเด็กให้จบปริญญาตรี ในสาขาที่ไม่ใช่ความถนัดและความชอบของตนเอง แต่เลือก
เรียนตามค่านิยมของสังคมที่ผิด เพราะสังคมท าให้เกิดความรู้สึกว่าต้องเรียนสาขาที่สามารถเชิด
หน้าชูตาพ่อแม่ แต่สุดท้ายกลับสร้างความผิดหวังให้พ่อแม่
ผู้ที่ไม่พร้อมด้านฐานะทางเศรษฐกิจ ขาดแคลนทุนทรัพย์ แต่มีสติปัญญาและต้องการศึกษา
ต่อในระดับอุดมศึกษา รัฐต้องเข้าไป ช่วยเหลือสนับสนุนให้สามารถเรียนต่อได้ โดยเงินค่าใช้จ่าย
การศึกษาให้หมายรวมถึงเงินค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการด ารงชีพ ไม่ใช่เฉพาะค่าเล่าเรียนซึ่งเป็นความ
มุ่งหวังของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญฯ ว่าเงินหรือฐานะต้องไม่ใช่ปัจจัยที่เป็นเหตุให้คนไม่
สามารถเรียนได้ โดยเป้าหมายของเงินกองทุนนี้ไม่ได้ค านึงถึงเฉพาะผู้เรียน แต่ค านึงถึงการ
เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพประสิทธิภาพของครูด้วย โดยเฉพาะครูหรือพี่เลี้ยงระดับการศึกษา
ปฐมวัย เพราะการศึกษาปฐมวัยเป็นพื้นฐานส าคัญของการพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการสมวัยทั้ง ด้าน
ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา เพื่อให้สามารถเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
มหาวิทยาลัยราชภัฏซึ่งท าหน้าที่ผลิตครูเป็นส่วนใหญ่ของประเทศจึงควรผลิตครูในสาขาปฐมวัยให้
มากขึ้น และภาครัฐควรก าหนดอัตราให้โรงเรียนมีครูปฐมวัยอย่างน้อยโรงเรียนละหนึ่งคน เพื่อ
ส่งเสริมและขยายความรู้ด้านการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้ครอบคลุมในระดับประเทศมากขึ้น
นอกจากนี้หน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบใน การก ากับดูแลครู ควรก ากับดูแลให้ครูมี
ใจมุ่งอยู่กับการเรียนการสอน และให้ครูอยู่กับเด็กให้มากที่สุด ไม่ควรมีปัญหาว่าครูทิ้งโรงเรียน
หรือทิ้งเด็ก และหากต้องการจัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาครู ควรจัดท าในช่วงปิดภาคเรียน
นอกจากนี้การผลิตครูในปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตครูจ านวนมากที่สุดคือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยผู้ที่เข้ามาเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่
พลาดจากการเข้าศึกษาต่อใน สถาบันอุดมศึกษาอื่น แต่กระบวนการผลิตครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลให้ความส าคัญเฉพาะด้านด้านวิชาการที่ต้องใช้ในการเป็นครู
ภายใต้การก ากับของคุรุสภา ซึ่งมีอ านาจหน้าที่ ในการก าหนดหลักสูตรวิชาชีพครู ดูแลหลักสูตรการ
จัดการเรียนการสอนของสถาบันอุดมศึกษาโดยก าหนด สาขาวิชา ก าหนดมาตรฐานการเรียนรู้ และ
ด าเนินการจัดสอบ หากสถาบันอุดมศึกษาใดไม่ประสงค์ให้มีการจัดสอบ ต้องให้คุรุสภามีอ านาจใน
การก าหนดหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษา ทั้ง ๆ ที่สถาบันอุดมศึกษาซึ่งควรเป็นองค์กรที่สามารถ
สร้างองค์ความรู้ กลับไม่สามารถท าได้เนื่องจากต้องอยู่ภายใต้การก ากับดูแลขององค์กร วิชาชีพทุก
สาขา ซึ่งในปัจจุบันองค์กรวิชาชีพก าลังมีบทบาทเพิ่มขึ้น และมีการรวมตัวกันมากขึ้น แต่ตาม
หลักการแล้ว องค์กรวิชาชีพมีวัตถุประสงค์ส าคัญในการดูแลผู้ประกอบวิชาชีพให้ได้มาตรฐาน