Page 73 - kpi20680
P. 73

49







                              อย่างไรก็ตากหากการด าเนินการยกระดับการเรียนรู้ในระดับจังหวัด ก็อาจเป็นการสร้าง
                       กลไกให้เกิดการท างานแบบบูรณาการทั้งด้านบูรณาการทรัพยากรจากหน่วยงานที่อยู่ในจังหวัด

                       โดยอาจมีกลไก ภาคีด้านความรู้และวิชาการ ได้แก่ สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่มีบทบาทให้

                       ข้อมูล ความรู้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ภาคีหน่วยงานราชการที่สนับสนุนงานในพื้นที่ ได้แก่
                       หน่วยงานราชการที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเยาวชน ภาคีภาค

                       ประชาชน ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน เครือข่ายที่ท างานใน

                       ประเด็นต่างๆ ท่เกี่ยวข้องกับเด็กเยาวชน และภาคีภาคธุรกิจ
                              หากมีผลกลด าเนินงานบนฐานข้อมูลความรู้ที่เป็นระบบ ระดมการมีส่วนร่วมของบุคลกร

                       และหน่วยงานทุกภาคส่วนในจังหวัด เพื่อน ามาใช้ตัดสินใจวางแผนด าเนินงานสอดคล้องกับความ

                       ต้องการและบริบทแต่ละจังหวัดจึงเป็นกระบวนการที่มีความส าคัญ
                              ส าหรับบทบาทของหุ้นส่วนในเครือข่าย ได้แก่ มหาวิทยาลัย เป็นแกนเครือข่ายหรือแกน

                       หลักทางวิชาการ การเปิดให้นักเรียนและครูเข้าไปใช้ห้องทดลองปฏิบัติการ การใช้แหล่งเรียนรู้

                       ห้องสมุด เครื่องมืออุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน โรงเรียน ต้องระดมบุคลากรภายในตั้งแต่

                       ครูใหญ่ ครู บุคลากรด้านต่างๆ เข้ามาร่วมในกระบวนการพัฒนาตลอดกระบวนการตามบทบาท
                       องค์กรทางการศึกษาระดับท้องถิ่น สนับสนุนในการประสานงานระหว่างโรงเรียนกับหน่วยงาน

                       ภาครัฐระดับสูงขึ้นไป การให้ค าแนะน าปรึกษาด้านการด าเนินโครงการ การช่วยแสวงหาความ

                       ช่วยเหลือทางวิชาการหรือการเงินจากภายนอก พ่อแม่และสมาคมผู้ปกครองและครู จัดหรือเข้าร่วม

                       กิจกรมอาสาสมัครพัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก การให้ความสนับสนุนด้านความรู้ หรือเวลา หรือเงิน
                       อุดหนุนตามอัตภาพ การแสวงหาการสนับสนุนจากภายนอกในรูปแบบต่างๆ และการช่วยเผยแพร่

                       ข่าวสารข้อมูลของเครือข่าย ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม มีบทบาทในการให้ความรู้ด้วยการบรรยายหรือ

                       จัดกิจกรรมหนุนเสริม เปิดสถานประกอบการหรือห้องทดลองปฏิบัติให้นักเรียนการเรียนรู้ และ
                       องค์กรหรือผู้เชี่ยวชาญระดับท้องถิ่น เช่น ผู้น าชุมชน ศิลปินพื้นบ้าน ภาคประชาสังคม ศูนย์

                       ประชาคม ห้องสมุดประจ าท้องถิ่น

                              ดังนั้น การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาอย่างจริงจัง น่าจะเป็นแนวทางช่วยแก้
                       วิกฤติการศึกษาไทย ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการศึกษา ควรเน้นอย่างน้อย 2 ประการหลัก

                       เป็นส าคัญ คือ ประการแรก คือ การกระจายอ านาจการจัดการศึกษาลงสู่หน่วยปฏิบัติให้มากที่สุด

                       ประการที่สอง คือ การระดมทรัพยากรและดึงความร่วมมือรวมพลังจากภาคส่วนต่างๆโดยมี
                       แนวทาง/มาตรการระยะปานกลางและระยะสั้นที่สามารถด าเนินการได้เลย โดยกระจายอ านาจการ

                       จัดการศึกกษาสู่ท้องถิ่น พื้นที่และสถานศึกษาและเพิ่มบทบาทของภาคีต่างๆ และภาคประชาสังคม

                       ในการจัดการศึกษาโดยพิจารณาทั้งเชิงระบบตั้งแต่ระดับประเทศ ระดับจังหวัด เขตพื้นที่ไปจนถึง
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78