Page 64 - kpi20680
P. 64
บทที่ 4
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับประชาชนและชุมชน
รัฐบาลในแต่ละยุคสมัยได้ให้ความส าคัญต่อการสนับสนุนและการจัดการศึกษาเป็นอย่าง
ยิ่ง นโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามีจุดหมายหลักคือ เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาใน
ภาพรวมเพื่อให้ทุกกลุ่มของสังคมได้มีสิทธิเท่ากันกันในการเข้าถึงการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เมื่อ
ประเทศมีระบบการศึกษาที่ดีก็จะส่งผลให้ประชากรในประเทศนั้นเกิดความรู้ ความรู้ที่ดีสามารถ
น ามาใช้พัฒนาคนให้มีความสามารถที่จะใช้ประกอบสัมมาอาชีพและเอาตัวรอดได้ ในขณะเดียวกัน
การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพราะการพัฒนาที่ผ่านมาได้ระดมใช้
ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะที่ดิน ป่าไม้ แหล่งน ้า ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ในอัตราที่สูงมาก และ
เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จนมีผลท าให้ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านี้ เกิดการร่อยหรอ และเสื่อม
โทรมลงอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเริ่มส่งผลกระทบต่อการด ารงชีวิตของประชาชนในชนบท ที่ต้อง
พึ่งพาทรัพยากรเป็นหลักในการยังชีพ
4.1 หน้าที่รัฐในการจัดการศึกษา
บทบัญญัติด้านการศึกษาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด
4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา 50 บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ … (4) เข้ารับการศึกษาอบรมใน
การศึกษาภาคบังคับ บทหลักในหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 54 “รัฐต้องด าเนินการให้เด็กทุกคน
ได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดย
ไม่เก็บค่าใช้จ่าย
รัฐต้องด าเนินการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา ตามวรรคหนึ่ง
เพื่อพัฒนา ร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและ
สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการด าเนินการด้วย
รัฐต้องด าเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้ง
ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ด าเนินการ ก ากับ ส่งเสริม และ
สนับสนุนให้การจัดการศึกษาดังกล่าวมีคุณภาพได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่าด้วย
การศึกษาแห่งชาติซึ่งอย่างน้อยต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดท าแผนการศึกษาแห่งชาติและการ
ด าเนินการและตรวจสอบการด าเนินการให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติด้วย