Page 53 - kpi20680
P. 53
31
เงื่อนไขในการฟ้องคดีก่อนบุคคลจะใช้สิทธิยื่นคําร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ ได้กําหนดขั้นตอนวิธีการไว้หลายประการ ตามมาตรา 46
มาตรา 47 (3) และมาตรา 48
(1) การดําเนินการก่อนฟ้องคดี
ก่อนการฟ้องคดีผู้ร้องจะต้องดําเนินการเพื่อเยียวยาสิทธิของตนตามขั้นตอนและวิธีการที่
กฎหมายกําหนดไว้เป็นการเฉพาะ
ผู้จะใช้สิทธิยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญจําต้องดําเนินการเยียวยาสิทธิและเสรีภาพของตน
ตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายเฉพาะกําหนดไว้ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน
(มาตรา 47 (3) บัญญัติว่า “กฎหมายบัญญัติขั้นตอนและวิธีการไว้เป็นการเฉพาะ และยัง
มิได้ดําเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการนั้นครบถ้วน”)
มีประเด็นว่าขั้นตอนหรือวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะที่บุคคลต้อง
ดําเนินการก่อนยื่นคําร้องนั้นจะหมายถึงกระบวนการใดบ้าง หมายรวมถึง การใช้สิทธิทางศาลอื่น
หรือไม่
ถ้าหากดูตามแนวคําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา (เช่น คําสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่
46/2560) ดูเหมือนว่าจะหมายถึงการใช้สิทธิทางศาลอื่นมาก่อนด้วย และเมื่อไปดูตามมาตรา 47 (4)
ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องห้ามและไม่สามารถใช้สิทธิยื่นคําร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ คือ
“เรื่องที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอื่นหรือเรื่องที่ศาลอื่นมีคําพิพากษา
หรือคําสั่งถึงที่สุดแล้ว”
คงจะมีประเด็นชวนคิดกันต่อไปว่าจะมีการกระทําอะไรที่ยังสามารถเสนอไปยังศาล
รัฐธรรมนูญตามกลไกนี้ได้บ้าง
(2) การยื่นคําร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ ได้กําหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีบทบาทในการ
กลั่นกรองคําร้องของบุคคลก่อนคําร้องนั้นจะมาถึงศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา 46 และมาตรา 48)
ฉะนั้น ผู้ร้องจําเป็นต้องเสนอเรื่องไปยังผู้ตรวจการแผ่นดินตามเงื่อนไขวิธีการที่กําหนด
(3) ระยะเวลาฟ้องคดี
ระยะเวลาการยื่นคําร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อกลั่นกรองก่อนเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญ
วินิจฉัยนั้น ตามมาตรา 46 และมาตรา 48 จะพิจารณาจากความดํารงคงอยู่ของการกระทําละเมิดสิทธิ
และเสรีภาพเป็นสําคัญ เช่น หากการละเมิดได้ผ่านพ้นไปแล้วต้องยื่นคําร้องภายใน 90 วันนับแต่
วันที่รู้หรือควรรู้ถึงการถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ เป็นต้น