Page 48 - kpi20680
P. 48
26
ประเภทต่างๆ ไปสู่อํานาจเชิงสัญลักษณ์ ไม่ว่าจะเป็นทุนทางเศรษฐกิจ ทรัพยากร เงิน ทรัพย์สิน และ
เครื่องมือการผลิต
แนวความคิดของกฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติได้รับรองสิทธิของบุคคลและ
ชุมชนในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และการครอบครองที่ดินของบุคคลมาแต่เดิมคู่ขนานกับการ
รับรองสิทธิในทรัพยากรของรัฐและของส่วนบุคคล ทิศทางการพัฒนาประเทศที่กระตุ้นให้มีการใช้
ประโยชน์ที่ดิน ประกอบกับที่ดินราคาสูงขึ้น เมื่อมีความขัดแย้งในข้อพิพาทที่ดิน สิทธิส่วนบุคคล
และสิทธิของรัฐได้มีอํานาจเหนือกว่าสิทธิของบุคคลและชุมชนที่ครอบครองทรัพยากรสาธารณะมา
แต่ดั้งเดิม ทั้งนี้เนื่องจากขบวนการยุติธรรมและการพิจารณาของเจ้าหน้าที่รัฐให้ความสําคัญกับ
หลักฐานทางเอกสารของการแสดงสิทธิในกรรมสิทธิ์ที่ดิน และหลักฐานเอกสารของราชการ มากว่า
พยานบุคคลและหลักฐานที่ปรากฎในชุมชน จึงทําให้การพิสูจน์สิทธิในที่ดินของประชาชนและ
ชุมชนไม่บรรลุ สิทธิในการแบ่งปันการเข้าถึงทรัพยากรสาธารณะ และใช้ประโยชน์เท่าที่จําเป็น ซึ่ง
หลักเกณฑ์การตีความมีขอบเขตขนาดไหน ขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานของสังคมและชุมชน ในแต่ละยุค
สมัย แต่ในยุคสมัยของการพัฒนากระแสโลกาภิวัตน์ที่แย่งชิงทรัพยากร ได้ทําให้กรรมสิทธิ์ส่วน
บุคคลมีอํานาจมากว่าสิทธิดังกล่าวเพราะฉะนั้นสิทธิของชุมชนในการครอบครองและทําประโยชน์
ในทรัพยากรจึงถูกทําลายไปโดยปริยาย
2.3 บทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช 2560
จากปัญหาของแนวนโยบายแห่งรัฐที่มิได้มีผลผูกพันบังคับให้รัฐต้องกระทําการ หรือ
ดําเนินการอย่างใด รวมทั้งมิได้มีการกําหนดสิทธิให้ประชาชนและชุมใช้สิทธิทางศาลในกรณีที่รัฐ
มิได้ดําเนินการดังกล่าว ประกอบกับสิทธิบางประการของประชาชนรัฐมิได้ดําเนินการให้เกิดผลจริง
ในทางปฏิบัติ ทําให้ประชาชนต้องเสียผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากการมีสิทธิดังกล่าว ปัญหา
เหล่านี้จึงเป็นสิ่งสําคัญยิ่งที่ทําให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน
ได้ตั้งคณะอนุกรรมาธิการศึกษาแก้ไขในประเด็นดังกล่าว จนนํามาสู่ที่มาของการบัญญัติหมวดว่า
ด้วยหน้าที่ของรัฐในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 เพิ่มเติมเข้ามาเป็น
บทบัญญัติหมวดใหม่และ เน้นการบังคับให้รัฐต้องกระทําการตามหน้าที่ของรัฐซึ่งได้กําหนดไว้
หากรัฐไม่ดําเนินการก็จะก่อให้เกิดสิทธิในการฟ้องร้องคดีต่อศาล ซึ่งจะได้กล่าวอธิบายรายละเอียด
ต่อไป
2.3.1 เจตนารมณ์และสาระสําคัญ