Page 47 - kpi20680
P. 47

25







                       “ชุมชน” โดยใช้แนวคิดแบบสํานักกฎหมายบ้านเมืองที่ยึดอํานาจรัฐเป็นผู้นิยามว่าอะไร เป็นชุมชน
                                                                                                        1
                       ก็ดี หรือการนําเอานิยามของคําว่า “ชุมชน” ในกฎหมายเรื่องอื่น เช่น กฎหมายสภาองค์การชุมชน

                              อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาการให้ความหมายชุมชนก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป ชุมชนมิได้
                       หมายถึงหมู่บ้าน  ที่มีอาณาเขตพื้นที่แน่นอนตายตัวอีกต่อไป หากแต่หมายถึงหน่วยทางสังคมที่

                       สมาชิกมีการติดต่อสื่อสาร เสริมสร้างและสืบสานสัมพันธ์ทางสังคมที่มีทั้งความเคลื่อนไหว ปรับตัว

                       ความ ขัดแย้งและการผสมผสาน  กลมกลืน ความสืบเนื่องและการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ คือชุมชน
                       มิได้เป็นหน่วยทางสังคมที่เป็นอิสระหรืออยู่โดด เดี่ยวแยกตัวออกจากหน่วยทางสังคมอื่น ๆ ในทาง

                       ตรงกันข้าม ชุมชนในรูปแบบใหม่ ๆ ดํารงอยู่ในความสัมพันธ์กับชุมชนอื่น ๆ และความสัมพันธ์กับ

                       รัฐและตลาดชุมชนรูปแบบใหม่เริ่มมีขอบเขตครอบคลุมเครือข่าย  กว้างขวาง เชื่อมโยงพื้นที่ใน
                       ชนบทกับเมือง ปรับตัวและเปลี่ยนแปลง ขัดแย้งและเกิดใหม่อย่างรวดเร็ว  (อมรวิชช์ นาครทรรพ

                       ,2548) การสร้างความเป็นชุมชนและอัตลักษณ์ไม่อาจหลีกเลี่ยงความสัมพันธ์เชิงอ านาจ เพราะการ

                       สร้างความ  เป็นชุมชน และอัตลักษณ์ของกลุ่ม เกิดขึ้นภายใต้ความสัมพันธ์ของการสร้างความ
                       แตกต่าง ซึ่งรวมถึงการผนวก รวม (inclusion) การกีดกัน (exclusion) และการสร้างความเป็นอื่น อัต

                       ลักษณ์และวัฒนธรรมจึงเป็นผลของ  ความสัมพันธ์เชิงอ านาจและความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคน

                       กลุ่มต่าง ๆ ในท านองเดียวกัน ความเป็นชุมชน  และความเป็นท้องถิ่นถูกสร้างขึ้นโดยกระบวนการ

                       ทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์เชิงอํานาจ และ  ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ในระดับที่กว้าง
                       กว่าท้องถิ่น ผ่านการเจรจาต่อรองและการต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ อัต ลักษณ์ของชุมชน และท้องถิ่น

                       จึงมีการปรับเปลี่ยน และสร้างใหม่อยู่เสมอจากปฏิสัมพันธ์ของพลังต่าง ๆ ที่  กําหนดความเป็นไป

                       ของสังคม การมองอัตลักษณ์และความเป็นชุมชนในลักษณะที่เลื่อนไหลและไม่ผูกติดกับ อาณาเขต

                       ที่แน่นอน ทําให้เราต้องหันมาให้ความสําคัญกับการศึกษาที่มีลักษณะความเป็นพลวัตร เน้นการ
                       ตีความ การต่อรอง และการตอบโต้สถานการณ์ที่มนุษย์แต่ละกลุ่มเผชิญหน้าอยู่ภายในความสัมพันธ์

                       เชิงอํานาจ  ที่ไม่เท่าเทียม  การพิจารณาความเป็นชุมชนแบบใหม่นั้น ลักษณะของความเป็นชุมชนที่

                       เพิ่มขึ้นคือความเป็นพลวัตหรือเป็นกระบวนการในการปรับตัวและต่อสู้ ซึ่งมีมุมมองบนพื้นฐานของ
                       แนวคิดและทฤษฏีที่หลากหลาย การมองชุมชนในแง่ของกระบวนการสะสมแสะการแปลงทุน








                       1   พระราชบัญญัติสภาองค์การชุมชน พ .ศ.2551 ได้นิยาม “ชุมชน”  ไว้ หมายความว่า กลุ่มประชาชนที่รวมตัวกัน
                       โดยมีผลประโยชน์และวัตถุประสงค์ร่วมกัน เพื่อช่วยเหลือหรือสนับสนุนกันหรือทํากิจกรรมอันชอบด้วกฎหมาย

                       และศีลธรรมร่วมกัน หรือดําเนินการอื่นอันเป็นประโยชน์ร่วมกันของสมาชิก มีการดําเนินการอย่างต่อเนื่องและมี
                       ระบบบริหารจัดการและการแสดงเจตนาแทนกลุ่มได้
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52